"เชิญชวนทุกท่านร่วมสร้างสรรค์กฎหมายเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน"

ฉันไม่ชอบกฎหมาย
Bookmark and Share
Blognone

วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

วัดร้างฝั่งธนบุรี โบราณสถานที่ถูกลืม


วันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ปีที่ 19 ฉบับที่ 7024 ข่าวสดรายวัน


วัดร้างฝั่งธนบุรี โบราณสถานที่ถูกลืม


วิภาวี จุฬามณี




น่า สนใจว่า ทำไมคนหนุ่มคนหนึ่งถึงเที่ยวลัดเลาะไปตามตรอกซอกซอยของชุม ชนต่างๆ มองหาในสิ่งที่แม้แต่เจ้าถิ่นเองก็ไม่รู้ว่าเคยมี และดีใจแค่ได้พบเศษเสี้ยวที่เหลืออยู่ของสิ่งเหล่านั้น

ในวัย 30 ปีของ ดร.ประภัสสร์ ชูวิเชียร อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร นอกจากถ่ายทอดความรู้ทางโบราณคดีให้แก่นักศึกษารุ่นหลังแล้ว ยังเป็นอีกผู้หนึ่งที่สน ใจเรื่องราวของวัดต่างๆ ในย่านฝั่งธนบุรี

โดยเฉพาะวัดที่ถูกปล่อยทิ้งร้าง ทั้งที่จริงแล้วมีประวัติ ศาสตร์ มีศิลปะ และความเป็นมาซ่อนอยู่

"พื้นเพเดิมผมเป็นคนฝั่งธนบุรี ทุกวันนี้ก็ยังอยู่ที่ฝั่งธนฯ และถ้าเป็นไปได้ถ้าจะตายผมก็อยากจะตายที่ฝั่งธนฯ"

ดร.ประภัสสร์แนะนำตัว ก่อนการบรรยายพิเศษเรื่อง "วัดร้างฝั่งธนบุรี" ที่จัดขึ้นในวาระครบรอบ 36 ปี วารสารเมืองโบราณ

เขา เล่าที่มาของภารกิจตระเวนหาวัดร้างที่กำลังทำอยู่นี้ว่า เป็นเพราะต้องการรวบรวมข้อ มูลงานศิลปกรรม หลักฐานทางโบราณคดี และศิลปะที่ยังหลงเหลืออยู่ในพื้นที่ฝั่งธนบุรี อันเป็น "บ้านเกิด" ของตัวเองให้ได้มากที่สุด

"ในช่วง 10 ปีหลังมานี้กรุงเทพฯ เปลี่ยน แปลงไปเยอะมาก ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้า พระยา ได้รับการถ่ายเทความเจริญจากฝั่งกรุง เทพฯ หรือฝั่งตะวันออก มีการขยายพื้นที่ ทำเป็นที่อยู่อาศัยเข้ามาในฝั่งธนฯ ซึ่งพื้นที่นี้เป็นพื้นที่ที่มีคนอยู่อาศัยมาตั้งแต่ดั้งเดิมแล้ว การเข้าไปเปลี่ยนแปลงพื้นที่ฝั่งธนบุรีในช่วง 10 ปีมานี้ ทำให้หลักฐาน ไม่ว่าจะเป็นหลักฐานทางธรรมชาติกายภาพ รวมทั้งงานศิลปกรรมที่ตกอยู่ในชุมชนดั้งเดิมเหล่านั้นสูญหายไปเรื่อยๆ"



ใน การสำรวจวัดร้าง ดร.ประภัสสร์เริ่มต้นจาก การอ่านหนังสือ "ศิลปกรรมในบางกอก" ที่ น. ณ ปากน้ำ (ประยูร อุลุชาฎะ) เขียนถึงวัดร้างในกรุงเทพฯ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2513 จากนั้นนำไปตรวจสอบกับแผนที่มณฑลกรุงเทพฯ-สยาม ที่กรมแผนที่ทหารจัดพิมพ์ในช่วงปี พ.ศ.2448-2474

"แผนที่เหล่านี้ ระบุที่มา ที่ตั้งของวัดต่างๆ ทั้งวัดที่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ และที่เป็นวัดร้าง มีบางวัดที่แผนที่ชุดนี้ระบุว่ายังมีพระจำพรรษาอยู่ แต่เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับแผนที่ปัจจุบันพบว่าหายไปจากแผนที่แล้ว"

เมื่อ เป็นเช่นนี้ ดร.ประภัสสร์จึงลงพื้นที่ออกตามหา แล้วก็พบว่าบางวัดไม่ได้หายไปไหน เพียง แต่เปลี่ยนชื่อไปจากเดิม ในขณะที่บางวัดหาร่องรอยแทบไม่เจอ ถามชาวบ้านก็ไม่มีใครรู้จัก แต่เมื่อลองเดินสำรวจตามซอกมุมต่างๆ กลับพบหลักฐานชิ้นเล็กชิ้นน้อย ที่ทำให้เชื่อว่าบริเวณนั้นเคยเป็นที่ตั้งของวัดที่ระบุไว้ในแผนที่เมื่อ ร้อยกว่าปีจริงๆ

อาจารย์ประภัสสร์ใช้คำว่า "ยิ่งหาก็ยิ่งมัน" เป็นเหตุผลของการตามหาวัดอื่นๆ ต่อไปอีก

ระยะเวลา 3-4 ปีที่ออกตามหา ปรากฏว่าพบวัดร้างที่ยังเหลือหลักฐานมากกว่า 10 วัด อาทิ

"วัดภุมรินทร์ราชปักษี" ใกล้กับปากคลองบางกอกน้อย ถูกยุบรวมกับวัดดุสิดารามตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 เพราะมีพระจำพรรษาอยู่เพียงรูปเดียว ปัจจุบันเหลือหลักฐานคือ วิหารฐานแอ่นโค้ง 2 หลัง สถาปัตยกรรมแบบอยุธยา ที่สำคัญคือหน้าบันปูนปั้นรูปนารายณ์ทรงครุฑ ข้างล่างมีนกยูงลำแพนหาง สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นที่มาของชื่อวัด



"วัดน้อยทองอยู่" ตั้งอยู่เชิงสะพานพระปิ่นเกล้า ถูกยุบรวมกับวัดดุสิดารามเพราะภัยคุกคามทางอากาศ สำรวจพบมณฑปห้ายอด ล้อมรอบด้วยบ้านเรือนของชาวบ้าน หลายคนยังเข้าใจผิด คิดว่ามณฑปนี้เป็นส่วนหนึ่งของวัดดุสิดาราม

"วัดสวนสวรรค์" ตั้งอยู่เชิงสะพานพระราม 8 ตรงข้ามกับท่าเรือเทเวศร์ พบพระอุโบสถซึ่งเป็นอาคารเก่าราวสมัยอยุธยาตอนปลายถึงรัตนโก สินทร์ที่ค่อนข้างสมบูรณ์ ภายในมีพระประธานที่ชาวบ้านเรียกกันว่า "หลวงพ่อดำ" และพบใบเสมาหักมุมที่หาดูได้ยาก

"วัดพิกุลใน" จากแผนที่ระบุว่าอยู่ใกล้กับสถานีรถไฟบางบำหรุ แต่เมื่อไปสำรวจพบเพียงศาลา มีป้ายเขียนว่าหลวงพ่อใหญ่ ดร.ประภัสสร์คาดว่า วัดพิกุลในน่าจะถูกทิ้งร้าง เพราะทางการตัดรางรถไฟผ่าน แต่ยังโชคดีที่ชาวบ้านช่วยกันขนย้ายพระพุทธรูป และพระอันดับ ออกมาแล้วสร้างศาลาไว้ให้

"วัดอังกุลา" ตั้งอยู่ริมคลองบางระมาด เขตตลิ่งชัน ปัจจุบันเหลือเพียงเนินดินที่มีผู้มาสร้างหลังคาครอบไว้ให้ บริเวณเดียวกันนี้ยังเป็นที่ประดิษฐาน "หลวงพ่อดำ" พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยา

"วัดกระดังงา" ตั้งอยู่ริมคลองบางระมาด ทางทิศตะวันตกของวัดจำปา ถูกระบุในแผนที่ว่าเป็นวัดร้างตั้งแต่ร้อยกว่าปีก่อน ดร.ประภัสสร์เล่าว่า ถามหาวัดกระดังงาจากชาวบ้านคนหนึ่ง ชาวบ้านคนนั้นชี้ไปยังบ้านของตัวเองแล้วตอบว่า "นี่แหละวัดกระดังงา" จึงเข้าใจได้ว่าปัจจุบันไม่มีร่องรอยของวัดนี้เหลืออยู่แล้ว

อีกวัด ที่ได้รับการบูรณะเป็นอย่างดี คือ "วัดสุวรรณคีรี" ปัจจุบันอยู่ในพื้นที่ของโรงเรียน สุธรรมศึกษา แขวงวัดท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ ชาวบ้านเรียกกันว่า "วัดกุด" บริเวณเดียวกันนี้พบหลักเขตเขียนว่า "เขตเทศบาลนครธนบุรี" เป็นหลักฐานที่หลงเหลือจากสมัยที่ธนบุรียังมีสถานะเป็นจังหวัดอยู่

สุดท้ายคือ "วัดนาค" ในเขตบางขุนเทียน ซึ่งมีผู้มาสร้างอุโบสถขึ้นใหม่แทนที่ของเก่าที่พังไปแล้ว ที่นี่ ดร.ประภัสสร์พบชิ้นส่วนใบเสมาหินทรายแดงสลักลวดลาย อาจเก่าแก่ถึงสมัยอยุธยาตอนกลาง ราวพุทธศตวรรษที่ 21-22 เป็นหลักฐานชั้นดีที่ยืนยันว่าชุมชนแถบนี้มีความสำคัญมาตั้งแต่สมัยโบราณ

จาก การลงพื้นที่สำรวจอย่างต่อเนื่อง ดร.ประภัสสร์ตั้งข้อสังเกตว่า การขยายเขตเมือง ทั้งการสร้างถนน หรือคอนโดมิเนียม เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้โบราณสถานถูกทำลายไปเรื่อยๆ

ไม่เพียงหลัก ฐานทางโบราณคดีเท่านั้น แต่ลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ก็ถูกเปลี่ยนแปลงไปด้วย ปอดของกรุงเทพฯ กำลังถูกทำลาย สวนผลไม้กลายเป็นตึกสูง สิ่งเหล่านี้ล้วนน่าเป็นห่วง เพราะเมื่อสูญหายไปแล้วไม่สามารถเรียกคืนกลับมาได้อีก

"เราชะลอการ สูญหายไม่ได้ ที่ทำได้คือทำให้คนที่อยู่ร่วมด้วยเห็นคุณค่า ทำให้เขารู้สึกว่าแม้ไม่ใช่ทรัพย์สินเงินทองก็เป็นความภาคภูมิใจ ถ้าคนในชุมชนเห็นความสำคัญแล้วเขาคงไม่ปล่อยให้โบราณสถานเหล่านี้สูญหายไป ง่ายๆ" ดร.ประภัสสร์สรุป


หน้า 5
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROb1lYQXdNakl4TURJMU13PT0=&sectionid=TURNeE53PT0=&day=TWpBeE1DMHdNaTB5TVE9PQ==

--
โปรดอ่าน blog
www.pridiinstitute.com
www.nakkhaothai.com
www.pcpthai.org
http://wdpress.blog.co.uk
http://rsm2009-rsm2009.blogspot.com
http://twitter.com/sweetblog
http://twitter.com/oknewsblog
http://twitter.com/okblogger
http://twitter.com/sat191
http://www.pacc.go.th/
http://twitter.com/okblogchan
http://twitter.com/sun1951
http://twitter.com/smeblogger
http://twitter.com/seminarblog
http://twitter.com/sunnewsblog
http://twitter.com/okworldblog
http://twitter.com/ktblogger
http://twitter.com/sundayblog
http://twitter.com/mondayblog
http://twitter.com/tuesdayblog
http://twitter.com/wednesdayblog
http://twitter.com/thursdayblog
http://twitter.com/fridayblog
http://twitter.com/saturdayblog
www.youtube.com/user/naiissarachon#p/a/u/0/34ZvscsnCbA

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
Thailand
ข่าวสาร ข้อมูล ทุกด้านต้องรับฟัง ไม่เชื่อสิ่งที่เห็น ฟังข่าวสารเพียงฝ่ายเดียว ต้องรู้เท่าทันในการรับรู้ข่าวสารจากทุกแหล่งข่าว FACT - Freedom Against Censorship Thailand กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย http://facthai.wordpress.com/ http://twitter.com/jiew ● ปรึกษาปัญหากฏหมาย ละเมิด,สัญญา,อายัดทรัพย์ ยึดทรัพย์ ปัญหาติดต่อราชการ ฟรี ● พิมพ์รายงาน,ค้นหาข้อมูล, ● งานพิมพ์ Lay-Out,Art Work สำนักพิมพ์ดาวหาง www.sanamluang.bloggang.com สนใจติดต่อสอบถาม workingmailhome@hotmail.com