"เชิญชวนทุกท่านร่วมสร้างสรรค์กฎหมายเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน"

ฉันไม่ชอบกฎหมาย
Bookmark and Share
Blognone

วันเสาร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2553

ตามรอย"ไดโนเสาร์"ที่กาฬสินธุ์

ตามรอย"ไดโนเสาร์"ที่กาฬสินธุ์

Pic_71646 รูปปั้นจำลองลักษณะของไดโนเสาร์ สยามโมไทรันนัส อีสานเอนซิส ที่พบในประเทศไทย

"ไดโนเสาร์-เต่าล้านปี" มักใช้เรียกเปรียบเปรยคนที่ล้าสมัย และตามไม่ทันความเปลี่ยนแปลง

แต่ ในความเป็นจริงแล้วเรื่องของไดโนเสาร์ สิ่งมีชีวิตเก่าแก่จากโลกล้านปีก่อน มีการค้นพบใหม่อยู่เสมอ ล่าสุด เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา คณะนักธรณีวิทยาไทยจากมหาวิทยาลัยมหาสารคามที่ร่วมทำงานกับนักวิจัยต่างชาติ ก็เพิ่งประกาศว่าได้ขุดค้นพบซากฟอสซิลไดโนเสาร์พันธุ์กินพืช ที่อาจจะเป็นสกุลใหม่ของโลก ที่ภูน้อย ต.ดินจี่ อ.คำม่วง จ.กาฬสินธุ์


ซากไดโนเสาร์จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์แหล่งขุดค้นไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว

บังเอิญ ว่าหลังการประกาศค้นพบไดโนเสาร์อายุ 150 ล้านปีนั้นไปแค่วันเดียว เราก็ได้มีโอกาสเฉียดเข้าไปใกล้แหล่งขุดค้น เพราะ "ดิสคัฟเวอรี่แชนแนล" พาสื่อมวลชนไปร่วมงานเปิดตัวสารคดีเรื่อง "มาร์ชออฟ เดอะไดโนซอร์" (March of the Dinosaurs) ซึ่งเสนอเรื่องราวย้อนกลับไปเมื่อ 65 ล้านปีก่อน เมื่อครั้งที่สัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่นี้เคยครองโลกในอดีต โดยใช้เทคนิคการถ่ายทำภาพยนตร์ผสมผสานกับเทคนิคกราฟฟิก 3 มิติที่เหมือนจริง ที่พิพิธภัณฑ์สิรินธร อ.สหัสขันธุ์ จ.กาฬสินธุ์

ห่างออก ไปต่างอำเภออีก 50 กม. ก็คือบริเวณขุดค้นที่ภูน้อย เราจึงไม่พลาดโอกาสที่จะไปดูการทำงานของคณะนักธรณีวิทยาให้เห็นเป็นขวัญตา สักครั้ง ที่เนินเขาเล็กแห่งนั้น รายล้อมไปด้วยที่นาของชาวบ้าน ดูไกลๆก็ไม่ได้แตกต่างจากเนินเขาอื่นที่พบเห็นได้ทั่วไป

แต่เมื่อ ปีนทางเดินขึ้นเนินเขาแบบง่ายๆ ที่ใช้สำหรับคณะขุดค้นไม่กี่สิบคนแล้ว ก็ต้องตะลึงกับสิ่งที่ได้พบ ใช่แล้ว มันคือซากฟอสซิลโครงกระดูกขนาดใหญ่ของสิ่งมีชีวิตเมื่อ 150 ล้านปีก่อน นอนกองอยู่ตรงหน้า แม้จากสายตาคนธรรมดาอย่างเราๆท่านๆ จะไม่ทราบว่ากระดูกชิ้นไหนเป็นส่วนไหน แต่การได้มาอยู่ใกล้ชิดกันในบริเวณที่ขุดค้นสดๆร้อนๆอย่างนี้ ไม่มีโอกาสจะเห็นได้ง่ายนัก


กลุ่มนักวิชาการไทยและต่างชาติกำลังขุดค้นที่บริเวณภูน้อย อ.คำม่วง จ.กาฬสินธุ์

"นัก ขุด" สิบกว่าชีวิตขะมักเขม้นอยู่กับงานของตัวเอง บางคน ใช้แปรงทาสีขนาดเล็กปัดเศษฝุ่นออกก่อนบรรจงเก็บเศษกระดูกเหล่านั้นใส่ถุง พลาสติกอย่างทะนุถนอม เขียนกำกับหน้าซองว่าเป็นส่วนใดของลำตัว ก่อนนำส่งห้องปฏิบัติการที่พิพิธภัณฑ์สิรินธร เพื่อทำการศึกษาต่อไป

แต่ ละวันของชาวคณะขุดค้นผ่านไปด้วยความตื่นเต้นที่ได้พบชิ้นส่วนใหม่เพิ่มขึ้น และหวังว่าในวันถัดไปจะได้พบกับชิ้นส่วนสำคัญอย่างกะโหลกศีรษะ หรือสิ่งใดก็ตามที่จะบอกได้ถึงลักษณะเด่นของสัตว์โลกล้านปีชนิดนี้ให้มาก ขึ้น

กลับมายังที่พิพิธภัณฑ์สิรินธรใกล้วัดสักกะวัน  นั้นเป็นสถานที่พบซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าวจัดว่าเป็นสถานจัดแสดง เรื่องราวด้านธรณีวิทยาตั้งแต่เกิดโลก จนไปถึงวิวัฒนาการสิ่งมีชีวิตจากโลกล้านปีอย่างไดโนเสาร์ และสัตว์อื่น ได้อย่างน่าสนใจและนำเทคโนโลยีทันสมัยมาประกอบการเล่าเรื่องของโลกยุคโบราณ ได้อย่างน่าติดตามเพียงเดินตามรอยเท้าไดโนเสาร์เข้าไปก็จะได้พบกับส่วนจัด แสดงถาวร ซึ่งแบ่งโซนออกเป็นทั้งหมด 8 โซน


รูปจำลองไดโนเสาร์ที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์สิรินธร

"ผู้ อยู่รอดคือผู้รู้จักปรับตัวเข้าหาสภาพแวดล้อม ไม่ใช่ปรับสภาพแวดล้อมเข้าหาความต้องการที่ไม่สิ้นสุด" ประโยคเด็ดคมคายบอกไว้หน้าห้องจัดแสดง และสอนใจผู้เข้าชมให้รู้จักการใช้ชีวิต

ก่อนเข้าสู่ส่วนที่หนึ่งที่ บอกถึงเรื่องราวการเกิดโลกและจักรวาล มีภาพจำลองของลูกโลกให้เปิดดูได้เป็นชั้นๆจากเปลือกโลกเข้าสู่แกนกลางชั้นใน ซึ่งข้างในสุดมีอุณหภูมิร้อนมากหลายพันองศา มีการเคลื่อนที่ของเปลือกโลกลักษณะต่างๆ ลักษณะของหินแร่ต่างๆ ส่วนการจัดแสดงของสิ่งมีชีวิตตั้งแต่ยุคแคมเบรียน

สิ่งมีชีวิตในโลก ยุคโบราณยังมีแมลงปอยักษ์ที่เกิดก่อนไดโนเสาร์ แต่รูปร่างเหมือนกับในปัจจุบันที่มีขนาดเล็กลงอันเนื่องมาจากการปรับตัว ในโซนถัดมาบอกเล่าเรื่องมหายุคมีโซโซอิกในยุคนี้แผ่นดินที่ปัจจุบันเป็น ประเทศไทย เป็นแหล่งอาศัยของไดโนเสาร์นานาชนิด หรือที่ทึกทักเรียกเอาว่า "ไดโนเสาร์ไทย"


ดร.วราวุธ สุธีธร ผอ.สำนักวิจัยซากดึกดำบรรพ์ทำท่าชี้บริเวณสะบักของตนขณะ อธิบายชิ้นส่วนของไดโนเสาร์ที่ค้นพบ

ต่อ จากนั้นมาอีก 2 โซนเป็นเรื่องวิถีชีวิตไดโนเสาร์ และการคืนชีวิตให้ไดโนเสาร์ เรื่องราวการค้นพบใหม่ที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ช่วยให้ได้เข้าใจเรื่องราวในมุมลึก ไม่ว่าจะเป็นรูปร่างและการล่าเหยื่อ ส่วนการคืนชีวิตให้ไดโนเสาร์ที่สูญพันธุ์ไปเมื่อ 65 ล้านปีก่อนนั้น ก็ต้องพึ่งพาความช่วยเหลือ ความรู้จากนักโบราณชีววิทยา ที่ได้ฟื้นชีวิตให้กับซากดึกดำบรรพ์ ให้เราได้ย้อนไปสัมผัสกับยุคไดโนเสาร์เป็นใหญ่ได้อีก

ในโซนที่ 7 เป็นเรื่องของมหายุคซีโนโซอิกที่เป็นยุคของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หลังการสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์ และโซนสุดท้ายคือ "เรื่องของมนุษย์" เริ่มจากไพรเมตหรือสัตว์ในตระกูลลิง ได้แยกตัวออกจากพันธุ์ลิงใหญ่และวิวัฒนาการมาเป็นสัตว์เดนิ 2 ขาจนถึงมนุษย์ในยุคปัจจุบัน

จบการชมพิพิธภัณฑ์ภายในอาคารเย็นฉ่ำและ ทันสมัยแล้ว ก็ไม่ควรพลาดเดินขึ้นเขาต่อไปอีกสักเล็กน้อย 2-300 เมตร จะได้พบกับพิพิธภัณฑ์แหล่งขุดค้นไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว ซึ่งสร้างเป็นอาคารคลุมหลุมขุดค้นไดโนเสาร์ และบอกเล่าเรื่องราวเฉพาะการขุดค้นไดโนเสาร์ที่แห่งนี้เมื่อ 20 ปีก่อน ให้เห็นเบื้องหลังในการทำงานก่อนที่เรื่องราวของไดโนเสาร์ในไทยจะมีการได้ รับความสนใจมากขึ้นในยุคนี้


ภายในห้องปฏิบัติการของพิพิธภัณฑ์สิรินธรเก็บชิ้นส่วนของสัตว์ดึกดำบรรพ์ไว้เพื่อ การศึกษา

พิพิธภัณฑ์ สิรินธรแห่งนี้ อยู่ในความดูแลของกรมธรณีวิทยา ไม่เก็บค่าเข้าชม แต่บอกได้คำเดียวว่า "คุ้มค่า" แก่การเดินทางไปดู เพราะเทียบชั้นพิพิธภัณฑ์ทันสมัยในเมืองนอกได้สบาย แล้วเรื่องอะไรเราจะต้องเสียเงินไปไกลๆด้วยเล่า ในเมื่อบ้านเราก็มีของดีที่คนต่างชาติเองยังมาดูอยู่บ่อยๆ

พิพิธภัณฑ์ นี้เปิดบริการทุกวันอังคาร-วันอาทิตย์ และปิดทุกวันจันทร์ ยกเว้นวันจันทร์ที่ตรงกับวันหยุดนักขัตฤกษ์เปิดบริการเป็นปกติ เวลา 08.30-17.00 น. โทร. 0-4387-1613 หรือทางเว็บไซต์ www.dmr.go.th

http://www.thairath.co.th/column/life/global/71646
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://www.thaifreedompress.blogspot.com/
http://sunblog1951.blogspot.com/ sunday
http://blogpwd.blogspot.com/ pwd9
http://ktblog1951.blogspot.com/ pwday
http://newsblog9.blogspot.com/ news
http://bloghealth99.blogspot.com/ health
http://labour9.blogspot.com/ labour
http://www.media4democracy.com/th/
http://www.youngtelecom.org/
http://www.logex.kmutt.ac.th/
http://www.mict4u.net/thai/
http://www.chula.ac.th/visitors/thai/calendar.htm
http://www.agkmstou.com/2008/index.php
http://www.baanjomyut.com/library/lotus/index.html
http://www.asianbarometer.org/newenglish/introduction/default.htm
http://www.isriya.com/node/2809
/wordcamp-bangkok-2009-pool-party
C:\Documents and Settings\user\My Documents\ไฟล์ที่ได้รับของฉัน\issarachon1101.wma
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=hiansoon

วันพุธที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2553

เพื่อนรักจากขั้วโลก

วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 19 ฉบับที่ 7048 ข่าวสดรายวัน


เพื่อนรักจากขั้วโลก


คอลัมน์ เพื่อนตัวเล็ก

ลิตเติ้ล พลอย




หลัง เฝ้าติดตามความน่ารักของแพนด้าน้อย "หลินปิง" ก็เกิดปิ๊งขึ้นว่าถ้ามีโอกาสไปเที่ยวชมความน่ารักของสัตว์เมืองหนาวชนิดอื่น อย่างหมีขั้วโลก คงจะดีไม่น้อย

และแล้วก็ได้มายืนอยู่ในสวนสัตว์อาซาฮียามา เมือง "อาซาฮีกาว่า" ดินแดนสุดหนาวบนเกาะฮอกไกโด ประเทศญี่ปุ่น

ไม่ผิดหวัง เมื่อเพื่อนรักสัตว์(ขั้ว)โลก เยื้องย่าง เดินตุ้มต๊ะตุ้มตุ้ย มาอวดโฉม

เริ่ม กันที่กลุ่มแก๊ง เพนกวินจักรพรรดิ ซึ่งนอกจากพวกมันจะได้ใช้ชีวิตตามธรรมชาติบนลานหิมะหนานุ่มแล้ว เจ้านกใส่สูทเหล่านี้ยังมีภารกิจสำคัญคือการเดินพาเหรดรอบสวนสัตว์วันละ 2 รอบ คือ 11 โมงเช้า และ 3 โมงเย็น เรียกเสียงฮือฮาจากหนูน้อยชาวยุ่น และสาวน้อยแดนสยาม



ไม่ใช่เดินอวดพุงกันเฉยๆ ยังหยุดยืนโพสท่าให้ถ่ายรูปเป็นระยะๆ

เสียงตามสายลอยมาว่าการให้อาหาร แมวน้ำ กำลังจะเริ่มขึ้น ผู้คนจึงเฮละโลไปชมความน่ารักของเพื่อนตัวอ้วนที่เคลื่อนไหวไวเหลือ

ขนาด คนเลี้ยงโยนปลาไปตั้งไกล เจ้าแมวน้ำตัวใหญ่น้ำหนักกว่าร้อยกิโลกรัม ยังปรู๊ดปร๊าดไปรับได้ทันราวติดล้อสเกต เรียกเสียงปรบมือกราวใหญ่

เสียง หนูน้อยชาวญี่ปุ่นตะโกนกันขรมว่า "ทานูกิ ทานูกิ" นักท่องเที่ยวหันมองตามเสียงพร้อมหัวเราะฮาครืน เพราะสัตว์ที่เห็นใช่ทานูกิเสียที่ไหน มันคือ เจ้าแพนด้าแดง ซึ่งมีรูปร่างหน้าตาคล้ายแรคคูนและกระรอกรวมกัน



ขยับ ไปอีกนิด "จิ้งจอกหิมะ" หน้าตาน่ารักน่าชัง ยืนหลับตาพริ้มพร้อมเป็นนายแบบราวกับกำลังยืนอยู่บนแคตวอล์กในชุดสีขาวสะอาด ตา ท้าลมหนาว

ปิดท้ายกันที่ หมีขั้วโลก หรือ Polar Bear ตัวใหญ่ ไฮไลต์การเที่ยวชมสวนสัตว์เมืองหนาวในครั้งนี้ ซึ่งทางสวนสัตว์จัดแสดงไว้หลายตัว แต่อยู่แยกกันในพื้นที่กว้างใหญ่ให้พี่หมีเดินเล่นไปมาอย่างสบายใจ พร้อมจัดแสดงแหล่งกำเนิดและโครงสร้างความแข็งแกร่งของร่างกายเจ้าหมีให้เห็น กันจะจะ

ทางสวนสัตว์ให้ข้อมูลว่า แม้เจ้าโพลาแบร์จะแข็งแรงแค่ไหน แต่ชีวิตจริงทุกวันนี้ของเจ้าหมีขั้วโลกลำบากมาก กลายเป็นหมีไร้ที่ยืนเนื่องจากภาวะโลกร้อน ที่ส่งผลให้น้ำแข็งขั้วโลกละลายลงอย่างรวดเร็ว

หมีขั้วโลก ที่ปกติอาศัยอยู่บนพื้นน้ำแข็งจึงหาแผ่นน้ำแข็งอยู่ได้ยากขึ้น บ่อยครั้งที่ต้องว่ายน้ำเป็นร้อยๆ ไมล์เพื่อหาอาหารและหาแผ่นน้ำแข็งยืนเหยียบ บางตัวทนไม่ไหวจมน้ำตายไปก็มี หมีขั้วโลกจึงเป็นสัตว์ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มาก

ไม่ใช่คนเท่านั้นที่ร้อนเพราะโลกร้อน

เพื่อนตัวเล็กตัวใหญ่เหล่านี้พลอย (เดือด) ร้อนไปด้วย

ทั้งที่ไม่เคยทำอะไรให้โลกขยับองศาขึ้นเลย

สักนิดเดียว


หน้า 24
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURONWIzVXdNekUzTURNMU13PT0=&sectionid=TURNeE1RPT0=&day=TWpBeE1DMHdNeTB4Tnc9PQ==

--
โปรดอ่านบล็อก
http://www.pridiinstitute.com
http://www.nakkhaothai.com
http://apps.facebook.com/blognetworks/index.php
http://www.roundfinger.com/
http://twitter.com/sweetblog
http://twitter.com/oknewsblog
http://twitter.com/okblogger
http://twitter.com/sat191
http://www.pacc.go.th/
http://twitter.com/okblogchan
http://twitter.com/sun1951
http://twitter.com/smeblogger
http://twitter.com/seminarblog
http://twitter.com/sunnewsblog
http://twitter.com/okworldblog
http://twitter.com/ktblogger
http://twitter.com/sundayblog
http://twitter.com/mondayblog
http://twitter.com/tuesdayblog
http://twitter.com/wednesdayblog
http://twitter.com/thursdayblog
http://twitter.com/fridayblog
http://twitter.com/saturdayblog
http://www.deepsouthwatch.org/node/687
http://www.tu.ac.th/org/ofrector/tu_council/record/nopporn.htm
http://www.visalo.org/

วันอังคารที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2553

ดาไล ลามะ กับการบรรจบของ "วิทยาศาสตร๋และธรรมะ" ความท้าทายเพื่อศาสตร์ที่ค้นหา "สุขภาพจิตที่มีคุณภาพ"


ภาพจาก investigatinghealthyminds.org


ภาพจาก investigatinghealthyminds.org




ภาพจาก investigatinghealthyminds.org






ดร.ริชาร์ด เดวิดสัน ผู้อำนวยการ The Center for Investigating Healthy Minds

วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2553 เวลา 11:25:33 น.  มติชนออนไลน์

ดาไล ลามะ กับการบรรจบของ "วิทยาศาสตร๋และธรรมะ" ความท้าทายเพื่อศาสตร์ที่ค้นหา "สุขภาพจิตที่มีคุณภาพ"

โดย fah@matichon.co.th

ก่อนหน้านี้ เป็นปัญหาขัดข้องหมองใจให้กับรัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน เป็นอย่างยิ่ง เมื่อ บารัค โอบามา ผู้นำสหรัฐอเมริกา เปิดทำเนียบประธานาธิบดีรับรอง ดาไล ลามะ ผู้นำแห่งจิตวิญญาณชาวธิเบต ไปเรียบร้อยแล้ว

 

ขณะนี้ ดาไล ลามะ ยังปฏิบัติภารกิจเผยแผ่คำสอน และธรรมะอยู่ในแดนอินทรีย์ ทั้งมีกำหนดจะมาเยี่ยมเยือนเมืองเมดิสัน รัฐวิสคอนซิน ในวันที่ 15-16 พฤษภาคมนี้ โดย The Center for Investigating Healthy Minds แห่งมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน เป็นเจ้าภาพเชื้อเชิญ เพื่อมาพบปะกับผู้คนที่สนใจ มีนัดหมายกันที่ เวสแมน เซ็นเตอร์

 

การมาเยือนของ ดาไล ลามะ องค์ที่ 14 นั้น ริชาร์ด เดวิดสัน (Richard Davidson) ผู้อำนวยการThe Center for Investigating Healthy Minds  ในฐานะนักวิทยาศาสตร์ด้านประสาทชีววิทยา (neuroscientist) กำลังศึกษาเรื่อง สมาธิกับการเพิ่มพูนความคิดเชิงบวกของเซลล์สมอง กล่าวถึงดาไล ลามะ ไว้ในเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน (http://www.news.wisc.edu/17757) ว่า มหาวิทยาล้ยฯ จัดตั้งศูนย์ทดสอบสุขภาพจิตใจ (CIHM) ขั้น เพื่อพัฒนาวิธีการตรวจสอบคุณภาพด้านจิตใจด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้่ ปลูกฝังและยกระดับจิตใจของผู้คน ซึ้งต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆ มากมาย

 

ทั้งนี้ เดวิดสัน ทำงานวิจัยเกี่ยวกับการทดสอบผู้คนที่ทำ "สมาธิ" ซึ่งปรากฎผลออกมาส่วนหนึ่งแล้วว่า คนกลุ่มนี้มีการการเปลี่ยนแปลงของเซลล์สมอง นำไปสู่การคิดเชิงบวก และมีความสุขขึ้น และพบว่าเป็นกลุ่มคนที่เห็นอกเห็นใจ มีความเมตตาต่อผู้อื่น จนเขาคิดว่า ถ้าสามารถขยายงานวิจัยนี้ออกไปในวงกว้าง จะสร้างผลดีให้กับสังคม

 

หากว่าไปแล้วเรื่องของ "สมาธิ" นั้น คนในศาสตร์พุทธศาสนารู้กันมานานแล้วว่า พระพุทธเจ้าตรัสไว้เป็นพระสูตรในการรักษาโรค เช่น โพชฌงค์เจ็ด ก็เริ่มด้วยสติ ซึ่งก็คือสติปัฏฐานสี่ มีพลังในการบำบัด ฟื้นฟูร่างกาย ด้วยมีข้อพิสูจน์ทั้งในและต่างประเทศ เพียงแต่ว่า คนจำนวนมากเข้าใจว่า สมาธิเป็นเรื่องยากที่จะปฏิบัติ

 

และในครั้งนี้ นักวิทยาศาสตร์ตะวันตก ต้องการค้นหาว่า สมาธิ เชื่อมโยงหรือผสมผสาน ให้มีผลต่อเซลล์ในม้ันสมองของมนุษย์ออกมาเป็นรูปธรรมได้อย่างไร?

 

เดวิดสัน เล่าว่า เขามีโอกาสได้พบกับดาไล ลามะ เมื่อปี

1992 มีโอกาสสนทนากัน และก็พบความท้าทายจากการพูดคุยครั้งนั้นว่า "ผม สามารถหาเครื่องมือด้านวิทยาศาสตร์ จากตะวันตก มาศึกษาดูความกลัว ความสะเทือนใจของผู้คน เพื่อหาทางขจัดมันได้หรือไม่ และนั้นทำให้ศูนย์ ทดสอบสุขภาพจิตใจ (CIHM) ถูก ตั้งโจทย์กลับมาอย่างท้าทาย เพือจะกลายเป็นเป้าหมาย ให้ศูนย์ฯนี้ เป็นสถาบันชั้นนำของโลกสำหรับการวิจัยรูปแบบดังกล่าว ซึ่งเรามีศาสตราจารย์แถวหน้าด้านจิตวิทยา และจิตเวช รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญด้านจินตนาการและพฤติกรรม ทำงานวิจัยอยู่ที่เวสแมน แล็บบอราทอรี่ ให้การสนับสนุนกันอย่างแข็งขัน"

 

ก่อนหน้านี้ ดาไล ลามะ เคยมาเยือนแล็ปดังกล่าว เมื่อปี

2001 ครั้ง นั้นยังได้แลกเปลี่ยน และพอกพูนความรู้ร่วมกันกับนักวิทยาศาสตร์คนอื่นๆ พบเพิ่มเติมอีกว่า ประเพณี วัฒนธรรมของชนแต่ละชาติ เชื่อมโยงกับประสาทชีววิทยา ซึ่งเกิดการเรียนรู้และนำไปสู่การใช้ชีวิต

 

ศูนย์ฯนี้ได้รวมการวิจัยพฤติกรรม และประสาทชีววิทยาขั้นพื้นฐาน เป็นการวิจัย่ที่จำเป็นในวันข้างหน้า เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์ และขยายงานของแล็ปให้กว้างออกไปก สู่โรงเรียน โรงพยาบาล และชุมชน ที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงในสังคม

 

นั่นหมายถึง การผสมผสานความหลากหลายของศาสตร์ เพื่อการศึกษา ไม่เฉพาะเจาะจงเพียงนักวิทยาศาสตร์ แต่ยังรวมไปถึง นักวิชาการด้านมนุษยศาสตร์ นักศึกษาศาสตร์ ผู้คนในแวดดวงการแพทย์ สาธารณสุข และผู้คนในแวดวงศาสนา ที่จะร่วมกันศึกษาคุณภาพของ

"สุขภาพจิตใจ"

 

"เรา พบว่ามีหลากหลายวิธีการที่จะสร้างเสริมสุขภาพจิตใจให้ดี และจะทุ่มเทศึกษาความหลากหลายครั้งนี้ ซึงถือเป็นภารกิจของศูนย์ฯ ในการทำวิจัย กระนั้น สิ่งสำคัญที่ต้องค้นหาและ ตรวจสอบข้อเท็จจริงให้ได้ด้วยเช่นกัน นั่นคือ อะไรบ้างที่เรียกว่า สุขภาพใจที่มีคุณภาพที่ดี"

 

เพราะหากบรรดาผู้มีมันสมองจากหลากแวดวงวิชาชีพ สามารถหาคำตอบนี้ได้เ แม้เวลานี้ยังเป็น

"ความหวัง" แต่ความฝันเป็นจริงได้

 

เผื่อว่า

"ดาไล ลามะ" จะ ได้กลับธิเบต เพราะผู้นำรัฐบาลจีน มีความเห็นอกเห็นใจ และเห็นว่า ธิเบตไม่ได้กระด้างกระเดื่อง ประสงค์จะแบ่งแยกความเป็นจีนออกจากกัน

 

หรือช่วยให้ผู้คนในเมืองไทย (อยากจะให้ใจบอดสี) มองเห็นทุกคนเป็นสีเดียวกัน รักกัน เหมือนรักตัวเอง

 

....วิทยาศาสตร์ ทำให้โลกดีขึ้น หวังด้วยเช่นกันว่า วิทยาศาสตร์ จะช่วยทำให้คนรักกันได้ !!

                                             http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1268368111&grpid=&catid=02

--
โปรดอ่านบล็อก
http://www.pridiinstitute.com
http://www.nakkhaothai.com
http://apps.facebook.com/blognetworks/index.php
http://www.roundfinger.com/
http://twitter.com/sweetblog
http://twitter.com/oknewsblog
http://twitter.com/okblogger
http://twitter.com/sat191
http://www.pacc.go.th/
http://twitter.com/okblogchan
http://twitter.com/sun1951
http://twitter.com/smeblogger
http://twitter.com/seminarblog
http://twitter.com/sunnewsblog
http://twitter.com/okworldblog
http://twitter.com/ktblogger
http://twitter.com/sundayblog
http://twitter.com/mondayblog
http://twitter.com/tuesdayblog
http://twitter.com/wednesdayblog
http://twitter.com/thursdayblog
http://twitter.com/fridayblog
http://twitter.com/saturdayblog
http://www.deepsouthwatch.org/node/687
http://www.tu.ac.th/org/ofrector/tu_council/record/nopporn.htm
http://www.visalo.org/

ครบรอบ ๑๐๐ ปีชาตกาล ของ ศรีบูรพา (กุหลาบ สายประดิษฐ์) ในวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๘



เนื่องในวาระครบรอบ ๑๐๐ ปีชาตกาลของ ศรีบูรพา (กุหลาบ สายประดิษฐ์) ในปี พ.ศ. ๒๕๔๘ นี้ องค์การยูเนสโกได้มีมติเมื่อวันที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ ให้บรรจุรายการฉลองครบรอบ ๑๐๐ ปีชาตกาล ของ ศรีบูรพา (กุหลาบ สายประดิษฐ์) ในวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ อยู่ในรายการที่ยูเนสโกจะร่วมเฉลิมฉลองด้วย และให้มีการเฉลิมฉลองตลอดปี พ.ศ. ๒๕๔๘

    และ ด้วยเหตุที่นายกุหลาบ สายประดิษฐ์ หรือ ศรีบูรพา เป็นบุคคลที่สมควรเป็นแบบอย่างของสังคมไทยเพราะเป็นนักคิดที่มีอุดมคติ เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว มีความสามารถและมีความตั้งใจจริงในการสร้างสรรค์ผลงานวรรณศิลป์ ทั้งยังมีความแข็งแกร่งทางจิตใจของนักหนังสือพิมพ์ รวมทั้งเป็นนักต่อสู้เพื่อสันติภาพ จนกระทั่งถูกจับกุมคุมขังถึง ๒ ครั้ง

    ใน การนี้ คณะอนุกรรมการฝ่ายรางวัลเกียรติคุณ ๑๐๐ ปี ศรีบูรพา ใน คณะกรรมการอำนวยการจัดงาน ๑๐๐ ปี ศรีบูรพา (กุหลาบ สายประดิษฐ์) พิจารณาเห็นสมควรยกย่องมอบรางวัลเกียรติคุณ ๑๐๐ ปี ศรีบูรพา แก่บุคคลที่มีแนวคิดเชิงอุดมคติซึ่งอุทิศตนเพื่อส่วนร่วมเช่นเดียวกับศรี บูรพาหรือนายกุหลาบ สายประดิษฐ์ เพื่อเป็นการสร้างกำลังใจให้แก่บุคคลที่เป็นคนดี มีจิตใจเสียสละให้กับสังคม ทั้งยังเป็นการสร้างบุคคลแบบอย่าง อันจะเป็นการกระตุ้นให้เกิดการดำเนินชีวิตที่มีคุณภาพ เกิดประโยชน์แก่บุคคลอื่น และเป็นประโยชน์แก่สังคมในที่สุด โดยกำหนดให้มีการสรรหาโดยการเสนอชื่อบุคคล องค์กร และสื่อต่างๆผ่านคณะอนุกรรมการฝ่ายรางวัลเกียรติคุณ ๑๐๐ ปี ศรีบูรพา เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการตัดสินต่อไป

    ทั้งนี้ให้แบ่งประเภทผู้รับรางวัลเป็น ๓ สาขาคือ

    ๑. สาขานักคิด-นักเขียน

    ๒. สาขานักหนังสือพิมพ์

    ๓. สาขานักต่อสู้เพื่อสันติภาพ

 

หลักเกณฑ์ในการพิจารราเพื่อเสนอชื่อให้คณะอนุกรรมการฝ่ายรางวัลเกียรติคุณ ๑๐๐ ปี ศรีบูรพา

 

. เป็นผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่

. เป็นผู้ที่มีแนวคิดและการดำเนินชีวิตตามแนวทางของนายกุหลาบ สายประดิษฐ์ ตามสาขานั้นๆ

๓. ชื่อเสียงและเกียรติคุณตามแนวทางกุหลาบ สายประดิษฐ์ ในสาขานั้นๆ เป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณชน

๔. เสนอชื่อได้สาขาละ ๑ ชื่อเท่านั้น

 

คณะกรรมการตัดสินรางวัลเกียรติคุณ ๑๐๐ ปี ศรีบูรพา

 

    ๑. นายศักดิ์ชัย บำรุงพงศ์ (เสนีย์ เสาวพงศ์)         ประธาน

    ๒. นายสุชาติ สวัสดิ์ศรี                 กรรมการ

    ๓. นายพงษ์ศักดิ์ พยัคฆวิเชียร               กรรมการ

    ๔. นางบัญญัติ ทัศนียเวช                 กรรมการ

    ๕. นายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย           กรรมการ

       (นายไมตรี ลิมปิชาติ)

    ๖. นายกสมาคมนักหนังสือพิมพ์             กรรมการ

         (นางผุสดี คีตวรนาฏ)

๗. รองศาสตราจารย์ นรนิติ เศรษฐบุตร          กรรมการและเลขานุการ

 

กำหนดการดำเนินงาน

 

พฤษภาคม ๒๕๔๘–กรกฎาคม ๒๕๔๘   เสนอชื่อผู้สมควรได้รับรางวัลเกียรติคุณ ๑๐๐ ปี ศรีบูรพา

สิงหาคม ๒๕๔๘– กันยายน ๒๕๔๘  รวบรวมข้อมูล และพิจารณารายชื่อตามที่ได้รับการเสนอมา

ตุลาคม ๒๕๔๘ ตัดสินรางวัลเกียรติคุณ ๑๐๐ ปี ศรีบูรพา

    จัดพิธีมอบรางวัล

 

กิตติกรรมประกาศ

 

    คณะ อนุกรรมการฝ่ายรางวัลเกียรติคุณ ๑๐๐ ปี ศรีบูรพา ใน คณะกรรมการอำนวยการจัดงาน ๑๐๐ ปี ศรีบูรพา (กุหลาบ สายประดิษฐ์) ขอถือโอกาสนี้แสดงคารวะอย่างสูงต่อท่านผู้เสนอชื่อ พร้อมทั้งผลงานอันประเสริฐจากหน่วยงานของรัฐ ของหน่วยงานเอกชน และบุคคลทั่วไป พร้อมทั้งการให้ข้อมูลเพิ่มเติม จนคณะอนุกรรมการฯสามารถคัดเลือกผู้ที่ถึงพร้อมคุณสมบัติทั่วไป และคุณสมบัติเฉพาะในด้านนักคิด-นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ และนักต่อสู้เพื่อสันติภาพ ได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ด้วยความภูมิใจยิ่ง

    

 

            (                                                         )

ประธานคณะอนุกรรมการฝ่ายรางวัลเกียรติคุณ ๑๐๐ ปี ศรีบูรพา


พิธีมอบรางวัลเกียรติคุณ ๑๐๐ ปี ศรีบรูพา
News Line 236/2005 (November 2005) The 100th Anniversary of the Birth of Kulap Saipradit

นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในการมอบรางวัลเกียรติคุณ ๑๐๐ ปี ศรีบูรพาและงานเสวนา "อุดมธรรมกับสังคมไทย" ในวาระ ๑๐๐ ปี ศรีบูรพา ถึง ๑๐๐ ปี พุทธทาส เมื่อ วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ ณ ห้องประชุมสัญญา ธรรมศักดิ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รมว.ศธ. กล่าวว่า วันนี้เป็นวันหนึ่งที่นำความสดชื่นเบิกบานมาสู่ทุกท่าน ณ ที่นี้ ตลอดจนผู้ที่ได้รับทราบข่าวคราวครั้งนี้ ประการหนึ่งเป็นวันประกาศเกียรติคุณของบุคคลสำคัญระดับโลก นักคิดนักเขียน นักหนังสือพิมพ์ ที่อุทิศชีวิตเพื่อสิทธิ เสรีภาพ และสันติภาพ คือ ท่านกุหลาบ สายประดิษฐ์ หรือ ศรีบูรพา อีกประการหนึ่ง เป็นวันประกาศเกียรติคุณบุคคลผู้มีผลงานและจริยวัตรที่สมควรเป็นแบบอย่างของ สังคมไทย ตามแบบของกุหลาบ สายประดิษฐ์ หรือ ศรีบูรพา
ท่านกุหลาบ สายประดิษฐ์ เป็นคนดี เป็นแบบอย่างที่สมควรแก่การยกย่องและการมอบรางวัลให้แก่ผู้ที่ยังมีชีวิต อยู่ในสังคมไทย อยู่ในยุคสมัยร่วมกับเราในวันนี้ ก็เป็นที่เรื่องน่ายินดียิ่งขึ้นไปอีก เพราะแสดงว่า สังคมของเรายังมีผู้สมควรแก่การเป็นแบบอย่างที่ดีอยู่
รมว.ศธ. ได้แสดงความชื่นชมและขอบคุณคณะอนุกรรมการฝ่ายรางวัลเกียรติคุณและผู้เกี่ยว ข้องทุกท่านที่ได้ตั้งใจทำงานจนเกิดวันนี้ขึ้นมา รวมทั้งได้แสดงความยินดีกับผู้ที่ได้รับรางวัล เกียรติคุณ ๑๐๐ ปี ศรีบูรพา ในครั้งนี้จำนวน ๓ ท่าน คือ นายสุวัฒน์ วรดิลก ในฐานะนักคิดนักเขียน นายขรรค์ชัย บุนปาน ในฐานะนักหนังสือพิมพ์ และศาสตราจารย์เสน่ห์ จามริก ในฐานะนักต่อสู้เพื่อสันติภาพ การมอบรางวัลของคณะกรรมการอำนวยการจัดงาน ๑๐๐ ปี ศรีบูรพา ครั้งนี้ จะเป็นสิ่งบำรุงกำลังใจให้ท่านทั้งสามได้มีพลังทำงานสร้างสรรค์สังคม และผลงานความดีที่ท่านปฏิบัติมา ได้เกื้อกูลหนุนส่งให้ท่านมีสุขภาพจิตที่สดใส สุขภาพกายที่แข็งแรง เป็นหลักชัยให้คนรุ่นหลังได้ยึดถือเป็นแบบอย่างที่ดีต่อไป


ประวัติ นายสุวัฒน์ วรดิลก
สุวัฒน์ วรดิลก

นายสุวัฒน์ วรดิลก (นามสกุลเดิม "พรหมบุตร") เกิดเมื่อวันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๖ ที่บ้านริมคลองข้างวัดมกุฏกษัตริยาราม กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรคนที่ ๒ ของอำมาตย์โทพระทวีปธุรประศาสน์ (วร วรดิลก) และนางจำรัส วรดิลก

เนื่องจากบิดาเป็นข้าราชการกรมการปกครอง ในวันเยาว์จึงต้องย้ายตามบิดาไปอยู่ตามหัวเมืองต่างๆ ทำให้ต้องย้ายโรงเรียนบ่อยๆ โดยเริ่มเรียนเตรียมปี ๑ (ปัจจุบันคือระดับอนุบาล) ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ในกรุงเทพฯ พ.ศ. ๒๔๗๒ ย้ายมาเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ที่โรงเรียนประจำจังหวัดกระบี่ ชื่อโรงเรียนอมาตยาพิทยา ปี พ.ศ. ๒๔๗๓ มาเรียนต่อชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ที่โรงเรียนวิเชียรมาตุ จังหวัดตรัง จนกระทั่งจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑

หลังเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ เกิดกรณี "กบฏบวรเดช" ในปี พ.ศ. ๒๔๗๖ ส่งผลให้บิดาต้องลาออกจากราชการ ซึ่งต่อมาเป็นเหตุให้ครอบครัวเปลี่ยนนามสกุลใหม่ จาก "พรหมบุตร" เป็น "วรดิลก" สุวัฒน์ วรดิลก เข้าเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓ ที่โรงเรียนมัธยมวัดโสมนัสวรวิหาร และเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔-๖ ที่โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร ต่อมาสอบเข้าเรียนต่อระดับเตรียมปริญญาที่มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการ เมือง รุ่นที่ ๓ และเรียนต่อในระดับปริญญา ณ มหาวิทยาลัยแห่งนี้ เพื่อตามใจบิดาโดยที่ไม่ได้มีใจชอบวิชากฎหมาย แต่อยากเรียนทางอักษรศาสตร์มากกว่า จึงทำให้เรียนไม่จบ

ระหว่างเรียนกฎหมายอยู่ที่มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ในปี พ.ศ. ๒๔๘๕ ได้เริ่มต้นทำงานเป็นข้าราชการวิสามัญ ตำแหน่งผู้คุมตรี ที่กรมราชทัณฑ์ กระทรวงมหาดไทย ทำได้หนึ่งปีก็มาสอบได้งานเป็นเสมียนการเงิน ที่กรมบัญชีกลางทหารเรือ ทำอยู่ได้ปีเดียวก็กลับมาสอบได้เป็นเสมียนพนักงาน ของกรมราชทัณฑ์ ช่วงนี้เองได้เริ่มทำงานเป็นนักข่าวที่หนังสือพิมพ์ เอกราช ของ อิศรา อมันตกุล ในปี พ.ศ. ๒๔๘๙ ต่อมาด้วยความปรารถนาที่จะเป็นนักอักษรศาสตร์จึงได้ลาออกจากราชการ

ในปี พ.ศ. ๒๔๘๖ ได้เขียนเรื่องสั้นเรื่องแรกชื่อ "ตราบใดสุรีย์ส่องโลก" ใช้นามปากกา ส.วรดิลก ได้ตีพิมพ์ใน ข่าวภาพ รายสัปดาห์ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ และไม่ปรากฏผลงานเขียนออกมาอีก ต่อมาเมื่อ วิตต์ สุทธเสถียร ออกหนังสือพิมพ์ ชาติไทยวันอาทิตย์ คู่กับ ชาติไทยรายวัน ใน พ.ศ. ๒๔๘๘ มีนโยบายสนับสนุนนักเขียนใหม่ สุวัฒน์ วรดิลก จึงมีโอกาสเขียนเรื่องสั้นอีกครั้ง โดยคราวนี้เขียนเรื่องสั้นชื่อ "เงามะพร้าวที่นาชะอัง" ที่ได้รับความสนใจจากนักอ่านจนทำให้สามารถเขียนเรื่องต่อมาได้อีกมาก ทั้งเรื่องรัก เช่น "ไออุ่นจากทรวงนาง" "ระอารัก" "ภูษิตเรียกเมียด้วยเสียงซอ" เรื่องวิจารณ์หรือเสียดสีสังคม เช่น "เทพเจ้า" "อีเงาะ" "ผีเข้าอีจง" เรื่องอิงพงศาวดาร เช่น "คำให้การ" "ในกระแสแห่งยุติธรรม" เรื่องกระตุ้นและปลุกจิตสำนึกทางจริยธรรมและมนุษยธรรม เช่น "มวยแถม" คนข้างหลืบ" เป็นต้น

สุวัฒน์ วรดิลก เป็นนักข่าวประจำโรงพักให้หนังสือพิมพ์ เอกราช ได้ครึ่งปี อิศรา อมันตกุล เห็นว่าไม่เหมาะกับหน้าที่นี้จึงได้เปลี่ยนให้เขียนเรื่องในเล่ม เรื่องสั้นที่เป็นที่รู้จักกันดีก็คือ "ท่องไปในแดนรัฐประหาร" (พ.ศ. ๒๔๙๐) ซึ่งเขียนก่อนเกิดการรัฐประหาร พ.ศ. ๒๔๙๐ ต่อมาได้รับอนุญาตให้เขียนนวนิยายประจำฉบับ เรื่องแรกคือ "สัญญารักของจอมพล" เป็นเรื่องสั้นขนาดยาว ในระยะนี้เองเกิดล้มป่วยด้วยวัณโรคที่ขั้วปอดอย่างรุนแรง เมื่อหายป่วยแล้ว หนังสือพิมพ์ เอกราชถูกสั่งปิด ชีวิตนักหนังสือพิมพ์จึงสิ้นสุดลง

ต่อมา สุวัฒน์ วรดิลก ได้ไปฝากตัวกับ กุหลาบ สายประดิษฐ์ (ศรีบูรพา) บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ ประชามิตร-สุภาพบุรุษ ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ระดับคุณภาพมาตรฐานของยุคนั้น โดยได้ส่งเรื่องสั้นเกือบ ๑๐ เรื่องให้ กุหลาบ สายประดิษฐ์ พิจารณา แต่ได้รับการตีพิมพ์เพียงเรื่องเดียว คือ "เขาและหล่อนอยู่กันคนละซีกโลก" หลังจากนั้นจึงมีผลงานได้รับการตีพิมพ์อีกเรื่องคือ "ทุ่งทานตะวัน"

ผลงานนวนิยายของ สุวัฒน์ วรดิลก เริ่มปรากฏในหน้านิตยสารภายหลังจากที่เขียนเรื่องสั้นมาได้ ๒ ปี ผลงานเรื่องแรก "เปลวสุริยา" ใน ปิยะมิตร ได้รับการตอบรับอย่างกว้างขวาง และทำให้ยอดจำหน่ายของหนังสือเล่มนี้พุ่งสูงขึ้นสู่ความนิยมสูงสุดในช่วงต้น ทศวรรษ ๒๔๙๐ ผลสำเร็จจากเรื่อง "เปลวสุริยา" นี้เอง ทำให้เกิดผลงานเรื่อง "ราชินีบอด" และเรื่องอื่นๆตามมา ได้สร้างชื่อเสียงให้แก่ผู้เขียนเป็นนักประพันธ์รุ่งโรจน์แห่งยุค และทำให้ยึดการประพันธ์เป็นอาชีพเรื่อยมา

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ ละครเวทีไทยประเภทชายจริงหญิงแท้เป็นมหรสพที่ได้รับความนิยมมาก เนื่องจากภาวะสงครามทำให้อุปกรณ์ในการถ่ายทำภาพยนตร์ขาดแคลน ไม่สามารถผลิตภาพยนตร์ป้อนโรงภาพยนตร์ได้ ละครเวทีจึงมีบทบาทสำคัญขึ้นแทน

สุวัฒน์ วรดิลก เริ่มเขียนบทละครเวทีเรื่องแรกจากผลงานของตนเองคือ "สัญญารักของจอมพล" ให้คณะเทพอำนวย แต่ไม่ประสบผลสำเร็จเนื่องจากยังไม่มีความรู้เรื่องการเขียนบทละครเท่าที่ ควร ต่อมาได้รู้จักกับ จุมพล ปัทมินทร์ และ น.อ. สวัสดิ์ ทิฆัมพร แห่งคณะศิวารมณ์ ได้รับการติดต่อขอซื้อ "เปลวสุริยา" เพื่อทำละคร สุวัฒน์ วรดิลก ตัดสินใจเขียนบทละครเอง โดยได้รับคำแนะนำวิธีการเขียนบทละครจาก ครูเนรมิต ทำให้ "เปลวสุริยา" เป็นบทละครเวทีที่สมบูรณ์เรื่องแรกของสุวัฒน์ วรดิลก

ในช่วงปี พ.ศ. ๒๔๙๑-๒๔๙๔ สุวัฒน์ วรดิลก มุ่งมั่นเขียนบทละครเวทีมาก จนกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญถึงขั้นสามารถกำหนดผู้ชมได้ล่วงหน้าว่าจะให้ชอบตอนใด บ้าง โดยกลวิธีการเขียนให้มีภาวะวิกฤต (Climax) ในทุกๆฉาก

สุวัฒน์ วรดิลก ทุ่มเทให้กับงานละครเวที เป็นผู้บุกเบิกวงการละครเวทีของไทย ทำหน้าที่เขียนบท กำกับการแสดง อำนวยการแสดง ตั้งคณะละครขึ้นเองคือ "ชุมนุมศิลปิน" และได้มีบทบาทในการต่อสู้เพื่อวงการละครมามากมาย เช่น การพยายามวางหลักการและจัดระบบแบ่งผลกำไร เพื่อให้ความเป็นธรรมแก่นักแสดง

จนกระทั่งถึงปลายปี พ.ศ. ๒๔๙๕ ละครเวทีเริ่มเสื่อมความนิยมลงจนที่สุดก็ต้องลาโรงไป สุวัฒน์ วรดิลก ลองหัดเขียนบทภาพยนตร์ดูบ้าง แต่ไม่ชอบ จึงกลับมาเขียนนวนิยายอีกครั้ง

วันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๑ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ กวาดล้างจับกุมนักคิดนักเขียนครั้งใหญ่ สุวัฒน์ วรดิลก และ เพ็ญศรี พุ่มชูศรี ภรรยา ถูกจับกุมคุมขังและตั้งข้อหาร้ายแรงคือ หมิ่นพระบรมเดชานุภาพและมีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ ระหว่างถูกขังอยู่ในคุกต่อสู้คดีในชั้นศาล สุวัฒน์ วรดิลก กลายเป็นบุคคลต้องห้ามสำหรับสังคมภายนอกนั้น ชาลี อินทรวิจิตร ตั้งคณะละครโทรทัศน์ขึ้น จึงมาชวนให้สุวัฒน์ วรดิลก เขียนบทละครโทรทัศน์ และเมื่อนำเรื่อง "God sees the eruth but waits" ของ ลีโอ ตอลสตอย มาเขียนเป็นบทละครเรื่อง "พระเจ้ารู้ทีหลัง" ก็ประสบผลสำเร็จจนทำให้ ชาลี อินทรวิจิตร ถูกหัวหน้าสถานีโทรทัศน์เรียกตัวไปสอบถาม ต่อมามีเรื่องชุด พระเจ้าออกมาอีก ๒ เรื่องคือ "พระเจ้ารู้ก่อนเสมอ" และ "พระเจ้าไม่รับรู้" ต่อมาเมื่อย้ายมาอยู่คุกสองที่ลาดยาว สุวัฒน์ วรดิลก รับจ้างเขียนบทละครวิทยุให้กับธนาคารอมมสิน เรื่องแรกคือ "ผีก็มีหัวใจ" ใช้นามปากกา ยุพดี เยาวมิตร

เมื่อ สุวัฒน์ วรดิลก ได้รับอิสรภาพเมื่อวันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๕ แล้ว (เพ็ญศรี พุ่มชูศรี ภรรยาได้รับการปล่อยตัวออกมาก่อนแล้ว) ได้กลับไปอุปสมบทที่อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ตามคำแนะนำของบิดาและผู้บังคับการตำรวจสันติบาล (พล.ต.ต. ชัช ชวางกูร) หลังจากลาสิกขาบทแล้วจึงได้กลับมาเขียนนิยายอีกครั้ง

นามปากกา รพีพร เริ่มใช้จากการเขียนนวนิยายเรื่อง "ภูติพิสวาศ" ที่ได้รับการตีพิมพ์ในหนังสือ แสนสุขรายสัปดาห์ ในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ และเรื่องที่สองคือ "ลูกทาส" ในปี พ.ศ. ๒๕๐๖ ส่งผลให้ชื่อ รพีพร โด่งดังติดตลาด สามารถกอบกู้ฐานะทางการประพันธ์ เศรษฐกิจและสังคมได้ในเวลาอันรวดเร็ว ต่อมาจึงเกิดนามปากกา ไพร วิษณุ เขียนนวนิยายชีวิตโลดโผนประเภทป่าเขาลำเนาไพร ศิวะ รณชิต เขียนนวนิยายการเมือง และ สันติ ชูธรรม ซึ่งใช้เขียนนวนิยายการเมืองเพียงเรื่องเดียวคือ พ่อข้าเพิ่งจะยิ้ม (เดิมชื่อ พ่อข้าไม่ผิด)

สุวัตน์ วรดิลก ตั้ง ชมรมนักเขียน ๕ พฤษภา ขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๑ และได้เป็นประธานชมรม โดยมีจุดประสงค์เพื่อหาเงินช่วย เลียว ศรีเสวก เจ้าของนามปากกา อรวรรณ เพื่อนนักเขียนคนหนึ่งที่แพทย์สันนิษฐานว่าเป็นมะเร็งที่หลอดลม ถูกตัดหลอดเสียงออก ต่อมาชมรมนี้ได้พัฒนาเป็น สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย ในปี พ.ศ. ๒๕๑๔

หลังเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๖ สุวัฒน์ วรดิลก หันมาสนใจงานคุณภาพที่มีเนื้อหารับผิดชอบต่อสังคมและแนวการเมือง จึงนำเรื่อง "พิราบแดง" ที่เขียนค้างเอาไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๑ มาเขียนต่อจนจบ และเขียนเรื่องใหม่ในชุด "แผ่นดิน" ได้แก่ แผ่นดินเดียวกัน แผ่นดินของเขา ฝากไว้ในแผ่นดิน และเขียนนวนิยายสะท้อนสังคม เช่น นกขมิ้นบินถึงหิมาลัย คามาล พิราบเมิน เป็นต้น

เนื่องด้วยปัญหาด้านสุขภาพและความสูงวัย หลังจากที่ได้ผ่าตัดใหญ่ทำ By pass เส้นเลือดเข้าหัวใจ เมื่อวันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ ทำให้ สุวัฒน์ วรดิลก ไม่สามารถตรากตรำทำงานหนักต่อไปได้อีก นวนิยายเรื่องสุดท้ายที่เขียนจึงค้างไว้ไม่จบ คือ "ทอง-นาก" ตีพิมพ์ในนิตยสาร สกุลไทย

ผลงานการประพันธ์ของ สุวัฒน์ วรดิลก มีทั้ง เรื่องสั้น นวนิยาย บทละครโทรทัศน์ บทละครวิทยุ บทภาพยนตร์ และสารคดี ที่มากที่สุดคือนวนิยาย มี ๘๘ เรื่อง รางวัลสำคัญที่ได้รับมี รางวัลพระราชทานตุ๊กตาทองภาพยนตร์เรื่อง "ลูกทาส" ในฐานะเจ้าของบทประพันธ์ยอดเยี่ยม พ.ศ. ๒๕๐๗ รางวัลชมเชยประเภทนวนิยาย เรื่อง ขอจำจนวันตาย จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๒๐ รางวัลชมเชยประเภทเรื่องสั้น จากหนังสือรวมเรื่องสั้นชุด เหนือจอมพลยังมีจอมคน จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๔ และได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิปล์ พ.ศ. ๒๕๓๔ จากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ


คำประกาศ รางวัลเกียรติคุณ ๑๐๐ ปี ศรีบูรพา สาขานักคิด-นักเขียน

นายสุวัฒน์ วรดิลก เป็นนักคิด นักเขียน นักการละคร และนักกิจกรรมเพื่อสังคม ที่ได้มีส่วนสร้างสรรค์ผลงานวรรณกรรมอันทรงคุณค่าฝากไว้ในบรรณพิภพ เป็นผู้ร่วมบุกเบิกและสร้างความเจริญให้แก่วงการละครเวทีของไทย อีกทั้งยังเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการก่อตั้งองค์กรขึ้นเพื่อสนับสนุน ส่งเสริม และช่วยเหลือเกื้อกูลบุคลากรและแวดวงวรรณกรรม

ด้วยความรักในการอ่านและการเขียน ผนวกกับความสนใจในเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ พงศาวดาร สุวัฒน์ วรดิลก จึงได้สร้างสรรค์ผลงานวรรณกรรมขึ้นในรูปแบบนวนิยายเริงรมย์และนวนิยายเริง ปัญญา ซึ่งมีทั้งที่เป็นนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ นวนิยายการเมือง และนวนิยายแนวชีวิตครอบครัว เพื่อสื่อสารกับสังคมไทยในเรื่องปัญหาความไม่เป็นธรรมในสังคม แสดงทัศนคติและอุดมคติทางการเมือง และการส่งเสริมสิทธิสตรี

และจากการเขียนนวนิยาย สุวัฒน์ วรดิลก ได้ย่างก้าวสู่การเขียนบทละครเวที นับว่าเป็นการขยายวงของงานเขียนออกไป จนในที่สุดก็เข้าไปมีส่วนร่วมในการบุกเบิก วางรากฐานให้แก่วงการละครเวทีของไทยในยุคที่เจริญขึ้นถึงขีดสุด อันเป็นประวัติศาสตร์สำคัญช่วงหนึ่งของวงการบันเทิงในช่วงเวลาระหว่างสงคราม โลกครั้งที่ ๒ ที่จะต้องจารึกไว้

สุวัฒน์ วรดิลก ยังเป็นผู้หนึ่งที่มีบทบาทอย่างสำคัญในการก่อตั้ง สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย และกองทุนต่างๆเพื่อสนับสนุนและส่งเสริม บุคลากรในวิชาชีพการประพันธ์ให้สามารถมีเวทีและเป็นตัวแทนในการเรียกร้อง สิทธิ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ถ่ายทอดความรู้ทางวิชาการ ทั้งในชุมชนนักวรรณกรรมเอง และสังคมสาธารณะ ยังผลให้วงการประพันธ์มีความเข้มแข็งเป็นปึกแผ่นและมีพัฒนาการร่วมกันมาก ยิ่งขึ้น

ในฐานะนักคิด สุวัฒน์ วรดิลก เป็นผู้นำทางความคิดที่ได้แสดงออกอย่างจริงจังถึงการต่อสู้เพื่อความเป็น ธรรมในสังคม ความเท่าเทียมกันของมนุษย์ การเมืองที่มีคุณธรรมและตรงไปตรงมา รวมทั้งสิทธิเสรีภาพของสตรีในสังคม

ในฐานะนักเขียน ผลงานวรรณกรรมของ สุวัฒน์ วรดิลก ทั้งในนามจริงและในนามปากกาต่างๆ อาทิ รพีพร ศิวะ รณชิต สันติ ชูธรรม และ ไพร พิษณุ ซึ่งมีมากมายนั้น เป็นทั้งสื่อแห่งความบันเทิงที่ช่วยสร้างความบันเทิงให้แก่สังคมโดยไม่นำลง สู่ความเสื่อม เป็นทั้งสื่อแห่งอุดมคติและสติปัญญาที่ช่วยสืบสาน ส่งเสริม และสร้างสรรค์ ทั้งสังคมวงกว่างและสังคมวรรณกรรมไปพร้อมกัน

ในฐานะนักกิจกรรมเพื่อสังคม องค์กรต่างๆที่ สุวัฒน์ วรดิลกได้มีส่วนในการก่อตั้งขึ้นทั้งหลาย ได้กลายเป็นองค์กรสำคัญในการพิทักษ์รักษาสิทธิ ความถูกต้องเป็นธรรม เป็นองค์กรที่มีส่วนร่วมสร้างรากฐานและความก้าวหน้าของวิชาชีพการประพันธ์ ตลอดจนมีส่วนในการช่วยเหลือเกื้อกูลพี่น้องผองเพื่อนร่วมวิชาชีพได้ไม่น้อย

ด้วยบทบาททางสังคมและผลงานที่มีคุณค่าความหมายอันเป็นที่ปรากฏในวงวรรณกรรม ที่เป็นได้ทั้งบันทึกทางสังคมและเป็นทั้งผลงานนฤมิตกรรมของนายสุวัฒน์ วรดิลก ซึ่งคิดและเขียนด้วยเจตนารมณ์ อุดมคติ และสำนึกทางสังคม ด้วยการอุทิศตน เพื่อผดุงไว้ซึ่งความยุติธรรมและสันติสุข อันสอดคล้องกับอุดมคติและแนวทางดำเนินชีวิตของ กุหลาบ สายประดิษฐ์ (ศรีบูรพา)

คณะกรรมการตัดสิน รางวัลเกียรติคุณ ๑๐๐ ปี ศรีบูรพา จึงขอประกาศเกียรติคุณให้ นายสุวัฒน์ วรดิลก เป็นผู้ได้รับรางวัลเกียรติคุณ ๑๐๐ ปี ศรีบูรพา สาขานักคิด-นักเขียน เนื่องในวาระแห่งการเฉลิมฉลองครบรอบ ๑๐๐ ปี ชาตกาล นายกุหลาบ สายประดิษฐ์ (ศรีบูรพา) และวาระที่องค์การยูเนสโกบรรจุชื่อนายกุหลาย สายประดิษฐ์ไว้ในปฏิทินการเฉลิมฉลองบุคคลสำคัญของโลก.

( )
ประธานคณะอนุกรรมการ รางวัลเกียรติคุณ ๑๐๐ ปี ศรีบูรพา

ประวัติ นายขรรค์ชัย บุนปาน
ขรรค์ชัย บุนปาน

ขรรค์ชัย บุนปาน เกิดเมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๗ ที่ราชบุรี บิดาชื่อ ไข่ มารดาชื่อ ชูศรี (จะกรุดแก้ว) บิดาเป็นครูและมารดาประกอบอาชีพค้าขาย ปีต่อมาบิดาซึ่งเป็นครูย้ายมาเป็นศึกษาธิการอำเภอ ที่อำเภอบางขุนเทียน จึงติดตามบิดามา เริ่มเรียนหนังสือที่โรงเรียน ในละแวกบางขุนเทียนนั้นจนจบประถมสี่จากโรงเรียนวัดหนังราชวรวิหาร จบมัธยมศึกษาปีที่หกจากโรงเรียนวัดราชโอรสาราม และไปเรียนต่อชั้นมัธยมปีที่ ๗-๘ ที่โรงเรียนวัดนวลนรดิศ

ที่โรงเรียนวัดนวลนรดิศนี้เองที่ขรรค์ชัยได้พบและรู้จักกับ สุจิตต์ วงษ์เทศ ซึ่งต่อมาเป็นเพื่อนรักกัน ได้ร่วมคิดร่วมเขียนและร่วมทำหนังสือมาด้วยกันจนได้รับฉายาร่วมกันว่า "สองกุมารสยาม" (เมื่อใดที่เอ่ยถึงคนหนึ่งจะละเว้นที่ไม่เอ่ยถึงอีกคนหนึ่งไม่ได้)

จากโรงเรียนวัดนวลนรดิศ ขรรค์ชัย บุนปาน สอบตก ม. ๗ จึงย้ายมาเรียนต่อที่วิทยาลัยครูสวนสุนันทา (ปัจจุบันเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา) ต่อมาเมื่ออายุครบ ๒๐ ได้อุปสมบทที่วัดราชโอรสาราม สอบได้นักธรรมตรี หลังจากนั้นสอบเรียนต่อได้ที่คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร เช่นเดียวกับ สุจิตต์ วงษ์เทศ ระหว่างเรียนที่มหาวิทยาลัยศิลปากรเริ่มมีผลงานรวมเล่มพิมพ์เผยแพร่ โดยเป็นผลงานร่วมกับ สุจิตต์ วงษ์เทศ ทั้งในรูปบทกวีและเรื่องสั้น เล่มแรกคือ นิราศ (๒๕๐๗) มี เรืองชัย ทรัพย์นิรันดร์ เป็นผู้จัดพิมพ์ และหลังจากนั้นก็มีผลงานเขียนร่วมกัน ๒ คนรวมเล่มออกมาอย่างต่อเนื่อง คือ นิราศ (๒๕๐๗) กลอนลูกทุ่ง (๒๕๐๘) เห่ลูกทุ่ง (๒๕๐๙) ครึ่งรักครึ่งใคร่ (๒๕๑๑) กูเป็นนิสิตนักศึกษา (๒๕๑๑) และ หันหลังชนกัน (๒๕๑๓) ซึ่งเป็นช่วงปีสุดท้ายก่อนจะจบการศึกษา

ในระหว่างที่กำลังเรียนหนังสืออยู่ที่คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากรนี่เอง ที่ ขรรค์ชัย-สุจิตต์ เริ่มมีบทบาทในแวดวงหนังสือและการเขียน โดยทั้งคู่ได้รับทำนิตยสาร ช่อฟ้า รายเดือน ของมูลนิธิอภิธรรมวัดมหาธาตุ ที่ต่อมาได้กลายเป็นแหล่งชุมนุมของ "กลุ่มหนุ่มเหน้าสาวสวย" ๑ ในกลุ่มปัญญาชนนักคิดนักเขียนในช่วงยุคก่อน ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ ซึ่งมีอยู่หลายกลุ่ม ที่โดดเด่นเช่น "ชมรมพระจันทร์เสี้ยว" และ "เจ็ดสถาบัน"

เมื่อจบการศึกษาแล้ว ขรรค์ชัย บุนปาน ได้ทำงานเป็นครูที่โรงเรียนมาร์แตร์เดอีระยะหนึ่ง ก่อนจะย้ายมาทำงานที่ห้างเซ็นทรัล หลังจากนั้นจึงเข้าทำงานในสายวิชาชีพหนังสือพิมพ์อย่างจริงจังมาจนปัจจุบัน เริ่มจากการทำงานที่หนังสือพิมพ์ สยามรัฐ ของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ซึ่งสุจิตต์ วงษ์เทศ เข้าไปทำงานอยู่ก่อนแล้ว ทำงานที่ สยามรัฐ ได้ประมาณ ๓ ปี เมื่อ สุจิตต์ วงษ์เทศ กลับจากลาพักงานไปสหรัฐอเมริกา ก็ถูกไล่ออกพร้อมกัน ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๕

การถูกไล่ออกจาก สยามรัฐ นี้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการทำงานหนังสือพิมพ์อย่างหนักแน่นมั่นคงยิ่งขึ้น โดยการระดมทุนจัดตั้งโรงพิมพ์คือ โรงพิมพ์พิฆเนศ ขึ้น หลังจากที่ตั้งโรงพิมพ์ ขรรค์ชัย บุนปาน มาทำงานที่หนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ โดยมีผู้ดูแลกิจการโรงพิมพ์พิฆเนศคือ สุจิตต์ วงษ์เทศ ซึ่งได้เขียนคอลัมน์ใน ไทยรัฐ ด้วย

ต่อมา หลังเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๖ ขรรค์ชัย บุนปานและเพื่อนร่วมกันออกหนังสือพิมพ์ ประชาชาติรายสัปดาห์ โดยออกในนาม เดอะเนชั่น ของ สุทธิชัย หยุ่น จากนั้นก็ออก ประชาชาติรายวัน จนกระทั่งต้องหยุดไปเพราะเกิดเหตุการณ์ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๙

เมื่อสถานการณ์ทางสังคมเริ่มคลี่คลาย ขรรค์ชัย บุนปานและเพื่อนจึงได้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ มติชน ขึ้น โดยออกหนังสือพิมพ์ มติชนรายวัน และ มติชนสุดสัปดาห์ ที่เน้นเนื้อหาของข่าวสารสาระ ปัจจุบันได้ขยายกิจการเป็นบริษัทสื่อสิ่งพิมพ์ขนาดใหญ่แห่งหนึ่งของไทยใน ชื่อ บริษัทมติชนจำกัด (มหาชน)

ขรรค์ชัย บุนปาน มีผลงานรวมเล่มของตนเองหลายเล่ม เช่น ชานหมากนอกกระโถน เศรษฐศาสตร์ข้างถนน หนี นานาสังวาส ใบลานหลังธรรมาสน์ ประดับไว้ในโลกา ฟ้าแล่บแปล๊บเดียว และ กลีบเกษรหอมหวานแต่วานนี้ ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า ขรรค์ชัย บุนปาน เป็นกวี นักประพันธ์ นักหนังสือพิมพ์ และนักบริหารจัดการ



คำประกาศ รางวัลเกียรติคุณ ๑๐๐ ปี ศรีบูรพา

นายขรรค์ชัย บุนปาน เป็นกวี นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ และนักบริหารจัดการที่ได้มีส่วนทำให้สถาบันสื่อมวลชนไทยมีคุณภาพและเข้มแข็ง ขึ้น ด้วยการยึดมั่นในหลักการ จรรยาบรรณหนังสือพิมพ์ และดำรงความซื่อสัตย์ในวิชาชีพ

ด้วยความรักในภาษาและหนังสือไทย โดยเฉพาะความสนใจเป็นพิเศษต่อความรู้ดั้งเดิมที่เป็นรากฐานทางศิลปะและ วัฒนธรรมของไทย ขรรค์ชัย บุนปาน จึงได้เริ่มต้นสร้างสรรค์ผลงานเขียนด้วยงานร้อยกรอง ที่ยึดเอาขนบเดิมเป็นแนวทาง และได้สร้างสรรค์ผลงานวรรณกรรมในรูปของเรื่องสั้นและนวนิยายในเวลาต่อมา กล่าวได้ว่า เวทีหรือสนามประลองทางความคิดของขรรค์ชัย บุนปาน เริ่มต้นที่ท้องทุ่งแห่งศิลปะและวัฒนธรรม ด้วยการวิพากษ์วิจารณ์ชีวิตความเป็นอยู่ รสนิยม และสำนึกของคนร่วมสมัย ที่มีความตรงไปตรงมาและทั่วถึงคือ ไม่เว้นแม้แต่การวิพากษ์ตนเอง

การเริ่มต้นจากความรักในงานเขียน สู่การทำงานหนังสือและในที่สุดก็ได้เติบโตขึ้นมาเป็นนักหนังสือพิมพ์ ขรรค์ชัย บุนปานได้เปิดพื้นที่จากท้องทุ่งแห่งศิลปะและวัฒนธรรมมาสู่โลกของสังคม เศรษฐกิจและการเมือง การเฝ้าติดตามดูความเป็นไปของทั้งบุคคลและสังคม แล้วกล่าวทักตักเตือน ให้สติ และบางครั้งบางคราวก็แนะแนวชี้นำทางให้เพื่อเป็นทางออกด้วยในบทบาทของนัก เขียนคอลัมน์

ในฐานะของกวี และนักเขียน ซึ่งมีความรู้ทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีเป็นอย่างดี นายขรรค์ชัย บุนปานได้นำความรู้ทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่มีอยู่มาสืบสาน สร้างสรรค์ และส่งเสริมวิชาชีพของตนเพื่อจรรโลงไว้ซึ่งสังคมที่ดี

ในฐานะของนักหนังสือพิมพ์ นายขรรค์ชัย บุนปาน เป็นนักหนังสือพิมพ์ที่ไม่ยอมอ่อนข้อต่อความไม่ถูกต้องไม่เป็นธรรมในสังคม และในบทบาทของผู้บริหารหนังสือพิมพ์ นายขรรค์ชัย บุนปาน ได้เป็นหลักสำคัญขององค์กรในการที่จะสนับสนุนให้ผู้ปฏิบัติงานในทุกระดับที่ มีพันธกิจรับผิดชอบต่อสังคมได้ใช้ความรู้ความสามารถของตนเพื่อธำรงไว้ซึ่ง การทำหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา ไม่เกรงกลัวต่ออำนาจที่ไม่เป็นธรรม จนทำให้หนังสือพิมพ์ทุกฉบับที่อยู่ในการบริหารงานของนายขรรค์ชัย บุนปาน มีคุณภาพเป็นที่เชื่อถือว่าเป็นสื่อที่นำความจริงสิ่งถูกต้องมาสู่สังคมโดย รวม

ด้วยบทบาททางสังคมและผลงานที่มีคุณค่าความหมาย ที่เป็นได้ทั้งหลักฐานประวัติศาสตร์และเป็นทั้งผลงานนฤมิตกรรมของนายขรรค์ ชัย บุนปาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฐานะนักหนังสือพิมพ์ซึ่งเป็นสื่อนำเสนอข่าวสารสาระ โดยเน้นที่การให้ข้อเท็จจริง และด้วยความซื่อสัตย์ตรงไปตรงมาในวิชาชีพ เจตนารมณ์ อุดมคติ และสำนึกทางสังคม ตลอดจนการอุทิศตน เพื่อผดุงไว้ซึ่งความยุติธรรมและสันติสุขของสังคม อันสอดคล้องกับอุดมคติและแนวทางดำเนินชีวิตของ กุหลาบ สายประดิษฐ์ (ศรีบูรพา)

คณะกรรมการตัดสิน รางวัลเกียรติคุณ ๑๐๐ ปี ศรีบูรพา จึงขอประกาศเกียรติคุณให้ นายขรรค์ชัย บุนปาน เป็นผู้ได้รับรางวัลเกียรติคุณ ๑๐๐ ปี ศรีบูรพา สาขานักหนังสือพิมพ์ เนื่องในวาระแห่งการเฉลิมฉลองครบรอบ ๑๐๐ ปี ชาตกาล นายกุหลาบ สายประดิษฐ์ (ศรีบูรพา) และวาระที่องค์การยูเนสโกบรรจุชื่อนายกุหลาย สายประดิษฐ์ไว้ในปฏิทินการเฉลิมฉลองบุคคลสำคัญของโลก.

( )
ประธานคณะอนุกรรมการ รางวัลเกียรติคุณ ๑๐๐ ปี ศรีบูรพา


ประวัติ ศาสตราจารย์ เสน่ห์ จามริก
ศาสตราจารย์ เสน่ห์ จามริก

ศาสตราจารย์ เสน่ห์ จามริก เป็นบุตรนายอุ้ย และนางเนย จามริก ซึ่งประกอบอาชีพค้าขายเกิดเมื่อวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๔๗๐ ที่อำเภอบางมูลนาค จังหวัดพิจิตร เป็นบุตรคนโตในจำนวนพี่น้องสองคน

การศึกษา เริ่มเรียนระดับประถมศึกษาจนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ที่โรงเรียนประจำอำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ เรียนต่อระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔-๕ ที่โรงเรียนประจำจังหวัดนครสวรรค์ หลังจากนั้นเดินทางมาเรียนต่อในกรุงเทพฯ จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ที่โรงเรียนวัดราชบพิธ เข้าเรียนต่อชั้นเตรียมปริญญา และระดับปริญญาตรีที่ มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ได้ทุนไปศึกษาต่อต่างประเทศทางด้านการบริหาร จบการศึกษามหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ ประเทศอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐

สมรสกับแพทย์หญิง อำนวยศรี (สกุลเดิม) ชุตินธร เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๘

ศาสตราจารย์เสน่ห์ จามริก เริ่มรับราชการครั้งแรกที่กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๙๒-๒๔๙๓ แล้วย้ายไปอยู่กรมการเมือง กระทรวงการต่างประเทศ ในปี พ.ศ. ๒๔๙๓ เมื่อสำเร็จการศึกษาจากประเทศอังกฤษได้เข้ารับราชการต่อที่หน่วยงานเดิม จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. ๒๕๐๓ จึงได้มาเป็นอาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ปี พ.ศ. ๒๕๑๒ ได้ก่อตั้ง "โครงการรัฐศาสตร์ศึกษา" ขึ้น โดยมีเป้าหมายหลักคือให้ผู้ศึกษาเป็นผู้มีคุณภาพทางวิชาการ รู้จักคิดอ่านและมองสภาวะด้านการเมืองที่เป็นอิสระเสรี พ้นไปจากสภาพระบบพันธนาการที่เป็นอยู่ขณะนั้น เพื่อให้คานกับการศึกษารัฐศาสตร์ที่มุ่งผลิตคนเพื่อป้อนระบบราชการโดยไม่ใส่ ใจกับบทบาทการพัฒนาระบบสังคมและการเมืองของสังคมในวงกว้าง ศาสตราจารย์เสน่ห์ จามริก เป็นหัวหน้าโครงการที่ก่อตั้งขึ้นนี้ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๑๒-๒๕๑๕ และในช่วงเวลาดังกล่าวยังได้เป็นหัวหน้าสาขาวิชาการระหว่างประเทศด้วย

ศาสตราจารย์เสน่ห์ จามริก ได้เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๑๖-๒๕๑๗

ร่วมก่อตั้ง "สหภาพเพื่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน" (ปัจจุบันเป็น "สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.)) และได้รับเลือกตั้งเป็นประธานสหภาพฯ ในปี พ.ศ. ๒๕๑๗-๒๕๑๘

ได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๘

ศาสตราจารย์เสน่ห์ จามริก ดำรงตำแหน่งรองอธิการบดี ในคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งศาสตราจารย์ ดร. ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ดำรงตำแหน่งเป็นอธิการบดี ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๑๘-๒๕๑๙ และเป็นผู้รักษาราชการอธิการบดีในช่วงที่เกิด "วิกฤตการณ์บุกเผามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์" ซึ่งได้แก้ไขเหตุการณ์ตึงเครียดนั้นอย่างสุขุมและมีการประสานงานกับผู้ร่วม งานอย่างดียิ่ง ทำให้วิกฤตกาลครั้งนั้นผ่านพ้นไปโดยไม่มีการเสียเลือดเนื้อ

ปี พ.ศ. ๒๕๐๙ ได้เป็นกำลังสำคัญในการผลักดันให้เกิด โครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๒๑ ได้จดทะเบียนเป็น มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ศาสตราจารย์ เสน่ห์ จามริก ได้ดำรงตำแหน่งประธานมูลนิธินี้มาจนถึงปัจจุบัน

ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๒๓-๒๕๒๔ เป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี และเป็นประธานคณะทำงานศึกษานโยบายพัฒนาชนบท ซึ่งต่อมารัฐบาลได้นำหลักการที่สำคัญจากเอกสารการศึกษานี้ไปประกาศเป็น ทศวรรษแห่งการพัฒนาชนบทไทย

ศาสตราจารย์ เสน่ห์ จามริก ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๒๔-๒๕๒๘ และระหว่างปี ๒๕๒๗-๒๕๓๕ ก็ได้เป็นกรรมการ Council of Trustees, Thailand Development Research Institute. (TDRI)

ตำแหน่งสุดท้ายของศาสตราจารย์ เสน่ห์ จามริก ก่อนลาออกจากราชการในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ คือ ผู้อำนวยการสถาบันไทยคดีศึกษา โดยได้ดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๒๔-๒๕๒๘

ในช่วงปีสุดท้ายของชีวิตราชการ พ.ศ. ๒๕๓๐ ศาสตราจารย์ เสน่ห์ จามริก ได้ก่อตั้งมูลนิธิเพื่อการศึกษาประชาธิปไตยและการพัฒนา และดำรงตำแหน่งประธานมูลนิธิด้วย

หลังลาออกจาราชการ ศาสตราจารย์เสน่ห์ จามริก ได้ทำงานที่เน้นไปในเรื่องของสังคมชนบท การพัฒนาชุมชน ในรูปขององค์กรพัฒนาเอกชน และงานที่เน้นในเรื่องสิทธิมนุษยชนมากขึ้น โดยในปี พ.ศ. ๒๕๓๒-๒๕๓๔ ได้เป็นประธานคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) เป็นรองประธานมูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนา ต่อมาเป็นประธานสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา ในปี พ.ศ. ๒๕๓๔-๒๕๓๗ แล้วเป็นผู้อำนวยการสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา-อีสาน ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๓๘-๒๕๔๔ และในปี พ.ศ. ๒๕๔๔ ศาสตราจารย์เสน่ห์ จามริก ก็ได้รับเป็นประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ดำรงตำแหน่งมาจนปัจจุบัน

งานสำคัญในด้านการศึกษาของ ศาสตราจารย์เสน่ห์ จามริก คือ การเป็นประธานอนุกรรมการศึกษาหาแนวทางสำหรับการพัฒนาการศึกษาในอนาคต ของ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ในปี พ.ศ. ๒๕๓๑ และเป็นอนุกรรมการที่ปรึกษา ในโครงการชนบทศึกษา ของทบวงมหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. ๒๕๔๐-๒๕๔๔

ศาสตราจารย์เสน่ห์ จามริก ได้รับ ปริญญาดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขารัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๘

ได้รับ ปริญญาดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการเมืองการปกครอง จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๔

ได้รับ ปริญญาดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาพัฒนาชุมชน จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๓

นอกจากนี้ยังได้รับเลือกให้เป็น นักสิทธิมนุษยชนดีเด่น สาขาการวิจัยและการศึกษา ในปี พ.ศ. ๒๕๓๑

ผลงานของศาสตราจารย์ เสน่ห์ จามริก มีทั้งที่เป็นหนังสือ เช่น ปัญหาและอนาคตของเมืองไทย (๒๕๑๙) การเมืองไทยกับพัฒนาการรัฐธรรมนูญ (๒๕๒๙) สังคมไทยกับการพัฒนาที่ก่อปัญหา (๒๕๓๗) ฐานคิด : สู่ทางเลือกใหม่ของสังคมไทย (๒๕๔๑) และ สิทธิมนุษยชน เส้นทางสู่สันติประชาธรรม (๒๕๔๓) หนังสือแปล เช่น แนวทางพัฒนาเศรษฐกิจ (๒๕๐๗) แปลจาก Economic Development in Perspective ความคิดทางการเมือง จากเปลโตถึงปัจจุบัน (๒๕๑๐) แปลจาก Political Thought : from Plato to the Present บทความ เช่น "การเมืองไทยกับการปฏิวัติตุลาคม" (๒๕๑๗) "พุทธศาสนากับสิทธิมนุษยชน" (๒๕๒๓) "แนวความคิดในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง" (๒๕๒๙) นอกจากนี้ยังมีเอกสารวิชาการ บทวิจารณ์หนังสือ คำปาฐกถา บทบรรยายและอภิปรายอีกด้วย



คำประกาศ รางวัลเกียรติคุณ ๑๐๐ ปี ศรีบูรพา สาขานักต่อสู้เพื่อสันติภาพ

ศาสตราจารย์ เสน่ห์ จามริก เป็นนักวิชาการ นักวิจัย นักพัฒนาสังคม นักสิทธิมนุษยชน และครู ผู้มีส่วนในการวางรากฐานวิชาความรู้และพัฒนาการทางรัฐศาสตร์ สังคมการการเมือง การศึกษา การให้ความสำคัญกับสิทธิเสรีภาพของประชาชน อย่างมีนัยสำคัญ

ด้วยความเป็นนักวิชาการที่ทรงความรู้ ศาสตราจารย์ เสน่ห์ จามริก ได้แสดงความคิดเห็นต่อระบบการเมืองและสังคมไทยเอาไว้เป็นหนังสือ บทความ เรื่องแปล จำนวนหนึ่ง โดยผลงานทั้งหมดเป็นการพยายามจะศึกษาแก่นของปัญหา พร้อมทั้งเสนอทางออกของปัญหานั้นด้วย ดังนั้นงานเขียนของ ศาสตราจารย์ เสน่ห์ จามริก จึงได้เชื่อมโยงเอาความรู้ในสาขาต่างๆของรัฐศาสตร์ ไม่ว่า รัฐประศาสนศาสตร์ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การเมืองการปกครอง และปรัชญาการเมืองผสมผสานเข้าไว้ด้วยกัน โดยมีจุดเน้นของความรู้ความคิดและเล็งผลไปที่ประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่ เป็นหลัก ด้วยการนำเสนออย่างตรงไปตรงมา ไม่หวั่นเกรงต่ออำนาจ และเป็นไปตามหลักวิชา

ศาสตราจารย์ เสน่ห์ จามริก เป็นนักรัฐศาสตร์ที่ประกาศตัวเสนอถึงพันธะทางสังคม ด้วยความเชื่อประการสำคัญที่สุดข้อหนึ่งที่ว่า "คุณธรรมคือความรู้ ซึ่งย่อมจะเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของคนส่วนใหญ่" และต่อวิสัยทัศน์ที่ว่า รัฐศาสตร์ที่มีพันธะทางสังคมภาคไกลที่สุด คือ การเมืองมนุษย์ ที่มีสาระสำคัญคือการตอบคำถามที่ว่า จะทำอย่างไรให้การเมืองกลายเป็นสิ่งเพิ่มคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็น มนุษย์ ซึ่งนับวันจะต้องเสื่อมสูญลงเป็นลำดับ ด้วยเหตุประการนี้จึงทำให้ ศาสตราจารย์ เสน่ห์ จามริก เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบสังคม เศรษฐกิจ การเมือง การศึกษา การพัฒนาสังคม และขบวนการสิทธิมนุษยชน จากบทบาทความเป็นนักวิชาการที่อยู่กับองค์ความรู้และทฤษฎีต่างๆ ได้ขยายมาสู่การเป็นนักพัฒนาผู้รังสรรค์และเคลื่อนไหวไปกับขบวนการต่อสู้ สร้างสรรค์เป็นนักปฏิบัติอย่างแท้จริง องค์กรต่างๆที่ ศาสตราจารย์ เสน่ห์ จามริก ได้ก่อตั้งหรือมีส่วนก่อตั้งขึ้นมาล้วนแต่เป็นกลไกและกำลังสำคัญในการขับ เคลื่อนขบวนการพัฒนาสังคมในเชิงคุณภาพที่เน้นสิทธิเสรีภาพความเป็นมนุษย์ อย่างแข็งขัน

ด้วยจิตวิญญาณความเป็นครู ศาสตราจารย์ เสน่ห์ จามริก ได้ทุ่มเทชีวิตเพื่อค้นหาสัจธรรมทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และการศึกษา โดยไม่เห็นแก่อามิสทั้งในทางการเงินและการเมือง ผลงานทั้งหลายของ ศาสตราจารย์ เสน่ห์ จามริก ย่อมเป็นประจักษ์พยานอย่างดีถึงการอุทิศชีวิตเพื่องานวิชาการ โดยที่ใส่ใจต่องานสอนและการประพฤติตนเป็นอาจารย์ที่ดี

ด้วยบทบาททางสังคมและผลงานที่มีคุณค่าความหมายอันเป็นที่ปรากฏในแวดวง วิชาการและเครือข่ายองค์กรพัฒนา อันเกิดจากการทุ่มเทอุทิศให้ทั้งพลังใจและพลังสติปัญญา ของ ศาสตราจารย์ เสน่ห์ จามริก ซึ่งได้ใช้ความรู้ทางวิชาการเป็นเครื่องมือสื่อสาร สร้างสรรค์ผลงานขึ้นเพื่อให้ความรู้ ความคิด กระตุ้นจิตสำนึกทางสังคม และสร้างอุดมคติ ด้วยการอุทิศตน เพื่อรักษาเอาไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันเป็นระบอบการปกครองที่เอื้อในการสร้างสันติประชาธรรมให้แก่สังคม อันสอดคล้องกับอุดมคติและแนวทางดำเนินชีวิตของ กุหลาบ สายประดิษฐ์ (ศรีบูรพา)

คณะกรรมการตัดสินรางวัลเกียรติคุณ ๑๐๐ ปี ศรีบูรพา จึงขอประกาศเกียรติคุณให้ ศาสตราจารย์ เสน่ห์ จามริก เป็นผู้ได้รับรางวัลเกียรติคุณ ๑๐๐ ปี ศรีบูรพา สาขานักต่อสู้เพื่อสันติภาพ เนื่องในวาระแห่งการเฉลิมฉลองครบรอบ ๑๐๐ ปี ชาตกาล นายกุหลาบ สายประดิษฐ์ (ศรีบูรพา) และวาระที่องค์การยูเนสโกบรรจุชื่อนายกุหลาย สายประดิษฐ์ไว้ในปฏิทินการเฉลิมฉลองบุคคลสำคัญของโลก.

( )
ประธานคณะอนุกรรมการ รางวัลเกียรติคุณ ๑๐๐ ปี ศรีบูรพา

http://www.sriburapha.net/100years_prize.php

--
โปรดอ่านบล็อก
http://www.pridiinstitute.com
http://www.nakkhaothai.com
http://apps.facebook.com/blognetworks/index.php
http://www.roundfinger.com/
http://twitter.com/sweetblog
http://twitter.com/oknewsblog
http://twitter.com/okblogger
http://twitter.com/sat191
http://www.pacc.go.th/
http://twitter.com/okblogchan
http://twitter.com/sun1951
http://twitter.com/smeblogger
http://twitter.com/seminarblog
http://twitter.com/sunnewsblog
http://twitter.com/okworldblog
http://twitter.com/ktblogger
http://twitter.com/sundayblog
http://twitter.com/mondayblog
http://twitter.com/tuesdayblog
http://twitter.com/wednesdayblog
http://twitter.com/thursdayblog
http://twitter.com/fridayblog
http://twitter.com/saturdayblog
http://www.deepsouthwatch.org/node/687
http://www.tu.ac.th/org/ofrector/tu_council/record/nopporn.htm
http://www.visalo.org/

วันจันทร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2553

เล่าเรื่อง "จีน-ไทย ในกระจกบานเดียวกัน" ที่หอศิลป์กรุงไทย โดย สุณิสา เจริญนา

เล่าเรื่อง “จีน-ไทย ในกระจกบานเดียวกัน” ที่หอศิลป์กรุงไทย โดย สุณิสา เจริญนา
โพสต์โดย : suisia
2009-11-18 20:00:29

เล่าเรื่อง “จีน-ไทย  ในกระจกบานเดียวกัน” ที่หอศิลป์กรุงไทย
      
  สมาคม นักเขียนแห่งประเทศไทยนำโดย  คุณชมัยภร  แสงกระจ่าง  นายกสมาคมฯ  และ  ดร.  ชัยวัฒน์  วิบูลย์สวัสดิ์  ประธานกรรมการบริหารบมจ.  ธนาคารกรุงไทย  ร่วมมือกันอีกครั้งหนึ่งในการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง  ภายหลังการจัดงานอ่านบทกวี  “ความรักในสวนโลก”  เมื่อกลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมา     โดยกิจกรรมล่าสุดที่เพิ่งจัดในวันอาทิตย์ที่  ๙  สิงหาคม  ๒๕๕๒  นั้น  คือ  กิจกรรมส่งเสริมวัฒนธรรมไทย-จีน      ในโอกาสเฉลิมฉลองวาระแห่งการสถาปนาความสัมพันธ์ไทย-จีนครบ  ๓๔  ปี  ณ  ห้องไมตรีจิตต์  ชั้น  ๔  หอศิลป์กรุงไทย  เยาวราช  กรุงเทพมหานคร

   บรรยากาศการจัดงานถึงแม้ว่าจะไม่มีโคมไฟสีแดง  ไม่มีต้นไผ่ประดับตามมุมต่าง ๆ  แต่ก็อบอวลไปด้วยสายสัมพันธ์ของพี่น้องไทย-จีนจากบรรดาแขกผู้มีเกียรติที่มา ร่วมงาน  ที่มีทั้งลูกค้าของธนาคารฯ  และนักธุรกิจย่านเยาวราช  รวมไปถึงพี่ ๆ  น้อง ๆ  จากคนในแวดวงวรรณกรรมก็มาร่วมงานกันอย่างคึกคัก  แขกบางส่วนเริ่มทยอยมาเข้างานก่อนเวลาที่กำหนดเพื่อจะได้มีเวลาเยี่ยมชม ส่วนอื่น ๆ  ของหอศิลป์  อาทิ  บูธจำหน่ายหนังสือแปลนวนิยายจีนผลงานของ  น.  นพรัตน์  ที่เจ้าตัวมาแจกลายเซนต์ด้วยตนเอง  ณ  ชั้น  ๑  /  ห้องแสดงนิทรรศการภาพเขียนที่จัดแสดงประจำ  ณ  บริเวณชั้น  ๒ /  ห้องแสดงนิทรรศการภาพวาดพู่กันจีนและอักษรจีนที่บริเวณชั้น  ๓  (จัดแสดงตั้งแต่วันที่  ๒๐ ก.ค.  ถึง  ๑๑  ส.ค.  ๕๒)  เป็นต้น

  เริ่มต้นด้วย  วรเนาว์ ดลเสมอ พิธีกรจากกรุงไทย  เชิญ  ดร.  ชัยวัฒน์  วิบูลย์สวัสดิ์ ประธานกรรมการบริหาร บมจ.ธนาคารกรุงไทย ขึ้นเวทีกล่าวต้อนรับและเปิดงาน  “กิจกรรมส่งเสริมวัฒนธรรมไทย-จีน”   อย่างเป็นทางการโดยได้กล่าวความช่วงหนึ่งว่า...  “ที่เราพยายามจัดรายการแบบนี้  เราต้องการส่งเสริม  ความชื่นชมความซาบซึ้งในศิลปะหลาย ๆ  แขนง  คราวที่แล้วเราจัดรายการพิเศษร่วมกับสมาคมนักเขียนฯ  ในรายการอ่านบทกวี  คราวนี้เราก็ขยายมาเป็นเรื่องวรรณกรรมในมิติของไทย-จีน  และแถมด้วยเสียงเพลง  --  และก็เป็นโอกาสพิเศษมาก ๆ  ที่เราถือว่างานของเราเป็นการส่งเสริมวัฒนธรรม ไทย-จีน  ที่เราได้ในมิติของความเป็นจีนและไทยอยู่ในวันนี้หลาย ๆ  อย่าง”      

  และในโอกาสเดียวกันนี้  อาจารย์ชัชวาลย์  และอาจารย์นิธิรุจน์  จากสมาคมศิลปะบูรพาแห่งประเทศไทย  ได้มอบภาพเขียนพู่กันจีนที่มีความหมายสอดคล้องกับการจัดงานให้เป็นที่ระลึก ในวาระที่ได้มาแสดงนิทรรศการที่หอศิลป์แห่งนี้  อาจารย์นิธิรุจน์ได้กรุณาแปลเป็นภาษาไทยให้ฟังว่า...  “ที่นี่เป็นการส่งเสริมศิลปะวัฒนธรรมและรวบรวมผลงานของผู้มีชื่อเสียง  และความสัมพันธ์ไทย-จีนก็แน่นแฟ้นยืนยงขึ้นโดยผ่านจากงานศิลปะครั้งนี้ด้วย”

  ทางฝ่ายสมาคมนักเขียนฯ  คุณชมัยภร  แสงกระจ่าง  ก็ได้อ่านบทกวีชื่อ    “ลายไผ่กับลายดอกบัว”   ที่แสดงถึงสายสัมพันธ์อันดีที่มีมาอย่างยาวนานระหว่างไทย-จีน  ซึ่งประพันธ์ขึ้น  สำหรับงานนี้โดยเฉพาะ... 

     
     “ดอกบัวงามสีชมพูอยู่ในน้ำ  ไผ่งามล้ำโบกปลายใบสีเขียว
 สายลมอ่อนพัดโบกโยกใบเรียว   ลมแล่นเลี้ยวลงน้ำระบำบัว
  เป็นภาพทองในกรอบงามเก่าคร่ำคร่า  เป็นภาพยืนหยัดมารู้กันทั่ว
 ภาพใบไผ่อ่อนพลิ้วปลิวระรัว    ภาพดอกบัวสงบเย็นเห็นเต็มตา
  ภาพกลมกลืนกันได้ไม่ขัดแย้ง  ภาพแสดงความสัมพันธ์อันสูงค่า
 ลายดอกบัวลายไผ่ในพื้นฟ้า    คือสัญญาคือทรงจำจดรำลึก
  คือสายใยไทย-จีน  ศิลป์  วัฒนธรรม  คือลวดลายตอกย้ำให้รู้สึก
 คือพ่อ-แม่  ปู่-ย่า  มานานนึก    ผูกสัมพันธ์ตรองตรึกมาลึกซึ้ง 
  สุโขทัย  อยุธยา  มารัตนโกสินทร์  กี่แผ่นดินโยงสายใยใจเป็นหนึ่ง
 แผ่นดินไทยโอบเอื้อเกื้อตราตรึง   สองเราจึงเป็นจีน-ไทยเป็นสายสัมพันธ์
  ก้าวเข้ามาก่อเกิดใหม่ให้และผูก  ด้วยไมตรีมีหลานลูกสืบสายขวัญ
 สายสกุลวัฒนธรรมคำจำนรรจ์   หลอมรวมกันเป็นสายใยในแผ่นดิน
  แยกจีน-ไทยออกไปตรงไหนหรือ  ในเมื่อคือหนึ่งใจเนื้อในสิ้น
 เหมือนภาพเขียนเหมือนเพลงบรรเลงยิน  รวมสายจินต์รวมสายใจไผ่กับดอกบัว”

  หลังจากนั้น  ผู้ดำเนินรายการ  คุณนิเวศน์  กันไทยราษฎร์และคุณบูรพา  อารัมภีร  สองอุปนายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย  นำเข้าสู่การบรรยายพิเศษในหัวข้อ  “คนเก่าเล่าเรื่องจีน”  จากครูใหญ่  (สมาน)  นภายน  --  ครูใหญ่เกิดปี  พ.ศ.  ๒๔๖๗  มีอายุ  ๘๕  ปี  เป็นครูเพลง  นักแต่งเพลง  นักร้อง  นักเขียน  นักเล่าเรื่อง  ในอดีตเคยเป็นหัวหน้าวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์มากว่า  ๒๐  ปี  และเคยได้รับการเชิดชูเกียรติให้ป็นผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรมจากกระทรวง วัฒนธรรม 

  ครูใหญ่ก็เป็นคนหนึ่งที่มีเชื้อสายจีนแต้จิ๋ว  เกิดและเติบโตในย่านของคนจีน  คือ  แถวสี่พระยา หลังวังแก้วฟ้า  ที่มีทั้งพี่น้องชาวจีนเชื้อสายแต้จิ๋ว ฮกเกี้ยน  และกวางตุ้งห้อมล้อมในละแวกบ้านเดียวกัน  เพื่อน ๆ  ส่วนมากก็เป็นลูกคนจีนที่เรียนโรงเรียนประชาบาลมาด้วยกันทั้งสิ้น  ชื่อของครู  คือ  “ใหญ่”  ซึ่งตรงกับภาษาจีนว่า  “ตั้ว”  โดยเป็นชื่อจีนที่แม่ของเพื่อนตั้งให้ และด้วยเหตุที่มีเพื่อนและบ้านพักในย่านคนจีนครูใหญ่จึงพอฟังภาษาจีนรู้ เรื่องอยู่บ้าง


  ครูใหญ่เล่าว่าเมื่อสมัยเป็นเด็ก  ยอมหนีโรงเรียนเพื่อไปรับจ้างแจกใบปลิวบนรถม้าได้ค่าตอบแทนมาหนึ่งสลึง  ซึ่งก็เรียกได้ว่ามีมูลค่ามากในสมัยนั้น  แต่กว่าจะได้เงินตอบแทนก็ต้องแจกใบปลิวให้หมดก่อน  ครูใหญ่จึงใช้วิธีไปที่   “เขียงหมู”  และให้ปึกใบปลิวทั้งปึกนั้นแก่คนขายหมูเอาไว้ห่อหมูขาย  เพื่อให้ใบปลิวที่ตนเองรับผิดชอบมาแจกนั้นจะได้หมดเร็ว ๆ  ครูบอกว่านี่ใช่กลโกงแต่เป็นการใช้ปัญญาแก้ปัญหาต่างหาก  นอกจากนี้ครูใหญ่ยังบอกอีกว่า  ในสมัยก่อนเยาวราชก็เป็นย่านที่มีอาหารจีนมากที่สุดไม่แพ้สมัยปัจจุบัน   “สมัยผมเป็นเด็กพ่อพาไปกินข้าวเหนียวหมูแดงร้านเกี้ยมอี๋  ห่อละ  ๑๐  สตางค์  มีทั้งหมูแดง  หมูกรอบ  หมูอบ   มีข้าวเหนียวห่อหนึ่ง  ใส่ซีอิ้วและใส่หมูและก็ห่อกลับบ้าน  และก็มีร้านโจ๊กอยู่ร้านหนึ่งจานละ  ๑๐  สตางค์  ถ้าเอากลับบ้านต้องใส่กระปุกตั้งฉ่าย  เพราะฉะนั้นเมื่อก่อนบ้านใครที่เป็นบ้านคนจีนต้องมีกระปุกตั้งฉ่ายเพื่อเอา มาใส่โจ๊ก  ๑๕  สตางค์  (ใส่ไข่)  และนี่ก็เป็นผลพลอยได้ของเด็กอย่างพวกผมก็ไปตามบ้านตามหน้าต่างห้องครัวเขา จะทิ้งกระปุกนี้ไว้  เราก็เก็บกระปุกนี้ไปใส่ตะกร้าแล้วเอาไปขายที่ร้านโจ๊ก  แล้วเขาก็ให้โจ๊กเรามากินอีกทีหนึ่ง”    

  หลังจบการบรรยายจากคนรุ่นเก่าอย่างครูใหญ่  นภายน  แล้ว  เป็นการคั่นรายการด้วย  “เพลง  ดนตรี  กวี  ไทย-จีน  (ช่วงที่  ๑)”  จากนักร้องกิตติมศักดิ์ทั้ง  ๓  ท่าน  คือ  ท่านแรก  ดร.  ญาดา  อารัมภีร  ร้องเพลง “ชีวิตนี้ฉันขาดเธอไม่ได้”  ที่มิสเก้อหล่างร้องไว้ในภาพยนตร์เรื่อง  “หงส์หยก”  เมื่อประมาณปี  พ.ศ.  ๒๕๐๐  ท่านที่  ๒  คุณบูรพา  อารัมภีร  ร้องเพลง  “ม่วยจ๋า”  ซึ่งประพันธ์โดยครูสุรพล  โทณะวณิก  และท่านที่  ๓  คุณนิเวศน์  กันไทยราษฎร์  ร้องเพลง  “ปาป๊า  มาม้า”  ที่  “ดำ  ฟอเรฟเวอร์”  เคยร้องไว้  จากนั้น    คุณแทนคุณ  จิตต์อิสระ  ผู้ดำเนินรายการในช่วงต่อไปนำเข้าสู่การอภิปราย  “จีน-ไทย  ในกระจกบานเดียวกัน”    โดยมีผู้ร่วมอภิปราย  ๓  ท่าน  คือ  คุณปนัดดา  เลิศล้ำอำไพ  /  ดร.  ญาดา  อารัมภีร  และคุณยุวดี    ต้นสกุลรุ่งเรือง  หรือ  “เข็มพลอย”   ทั้ง  ๓  ท่านเป็นนักเขียนอิสระมีคอลัมน์อยู่ในนิตยสารหลายเล่ม  เช่น  นิตยสารสกุลไทยรายสัปดาห์และหนังสือต่วย’ ตูนเป็นต้น

     ด้วยความสัมพันธ์ที่มีมาอย่างยาวนานนับตั้งแต่มีการสถาปนาครั้งใหม่ คือวันที่  ๑  กรกฏาคม  พ.ศ.  ๒๕๑๘  คุณปนัดดาจึงเริ่มต้นการอภิปรายให้เห็นถึงภาพรวมกว้าง ๆ  ของประวัติศาสตร์และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนว่าเป็นมาอย่างไร  คุณปนัดดาเล่าย้อนถึงความสัมพันธ์ตั้งแต่ยุครัชกาลที่  ๖  เป็นต้นมาจนถึงประมาณปีพ.ศ.  ๒๕๑๕-๑๘  คือก่อนการสถาปนาความสัมพันธ์ครั้งใหม่  ความสัมพันธ์ครั้งนั้นเรียกว่าตกอยู่ในช่วงมรสุม  โดยมีสาเหตุใหญ่ ๆ  มาจากการต่อสู้กันทางลัทธิการเมืองของจีน  ความเคลื่อนไหวของคนจีนในไทยที่ขึ้น ๆ  ลง ๆ  ตามความผันแปรทางการเมืองของจีนเป็นหลัก  กว่าที่ความสัมพันธ์จะสงบลงได้อย่างแท้จริงคือราวปีพ.ศ.  ๒๕๑๘  ที่ความสัมพันธ์ค่อย ๆ  ขึ้นสู่กระแสสูงอีกครั้ง  ผ่านมา  ๓๐  กว่าปีจนถึงปัจจุบัน  เรียกได้ว่าความสัมพันธ์ไทย-จีนอยู่ในขั้นดีเลิศ  นโยบายการต่างประเทศของจีนให้สถานภาพแก่ประเทศไทยมากในฐานะที่เป็นจุดศูนย์ กลางของความสัมพันธ์ของจีนในแถบเอเชีย  รัฐบาลจีนในปัจจุบันมีภูมิความรู้ที่ลึกซึ้งมองเหตุการณ์ทุกอย่างด้วยสายตา ที่ยาวไกล  ทั้งมองย้อนกลับไปในอดีตและวางแผนไปสู่อนาคต

  ลักษณะพิเศษทางวัฒนธรรมของสังคมไทยที่โดดเด่นมาแต่ไหนแต่ไร  คือ  ความเปิดกว้าง   ให้โอกาสและเอื้อเฟื้อต่อชนชาติต่าง ๆ  ที่เข้ามาอยู่ในแผ่นดิน  ไม่ว่าจะเป็น  จีน  จาม  แขก  มอญ  พม่า  ลาว  ญวน  ทั้งยังมีความสามารถในการกลืนกายคนเชื้อชาติต่าง ๆ  นั้นให้เข้าสู่ความเป็นไทยได้ในที่สุด  โดยกระบวนการทางบวก  คือไม่ได้บังคับหรือกำหนดกฎเกณฑ์ใด ๆ  จนทำให้คนต่างชาติทั้งหลายยินดีที่จะเปลี่ยนแปลงกลายเป็นคนสยามหรือคนไทย ด้วยความสมัครใจของตน  คุณสมบัติพิเศษเหล่านี้ได้กลายเป็นกุญแจสำคัญดอกหนึ่งในการที่จะช่วยไขและ เปิดประตูประเทศเข้าสู่โลกยุคใหม่ได้อย่างไม่เนิ่นช้า  ในสยามคนจีนได้เข้ามาเป็นชนชั้นพ่อค้า  ที่มีแต่นายกับไพร่  ขาดแคลนชนชั้นกลางที่มีความเป็นอิสระเดินทางค้าขายได้  คนจีนได้เข้ามาเติมช่องว่างนี้ให้กับสังคมไทยและพัฒนาต่อมาเป็นผู้ประกอบ ธุรกิจน้อยใหญ่ในยุคพัฒนาเศรษฐกิจ  คือ  ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่  ๒  จวบจนถึงปัจจุบัน

  ทั้งนี้   คุณปนัดดายังได้ทิ้งท้ายไว้ว่า  “ความเอื้อเฟื้อของเจ้าบ้านผู้อารีย์อย่างราชวงศ์จักรีของสยามนี้นับว่าได้ ผลตอบแทนที่คุ้มค่า  สมดังที่พระพุทธเจ้าหลวงได้ทรงวินิจฉัยไว้อย่างชัดเจนว่า...  พวกจีนที่เข้ามาอยู่ในสยามนี้ย่อมทำการเป็นความเจริญแก่แผ่นดินของเราเป็น อันมาก  และในทางตรงกันข้ามชาวจีนอพยพที่เลือกมาอยู่สยามนับว่าเป็นผู้โชคดีกว่า เพื่อนร่วมชาติที่แล่นเรือไปขึ้นฝั่งที่ถิ่นอื่น  แคว้นอื่น  ในดินแดนทะเลใต้  เพราะไม่ต้องประสบเหตุเภทภัยในรูปแบบต่าง ๆ  อย่างที่คนจีนในอินโดนีเซีย  มาเลเซีย  หรือในเวียดนามต้องได้รับ  คนจีนอพยพและลูกหลานสามารถอยู่ดีมีสุขมีความเจริญรุ่งเรืองที่มั่นคง  ได้สถานภาพเป็นประชาชนเต็มขั้น  ไม่ใช่พลเมืองต่างด้าว  ไม่ได้เป็นคนนอกของสังคมไทยอย่างกับคนจีนในหลาย ๆ  ดินแดนทั่วโลกที่มีสถานภาพเป็นเพียงคนนอกของสังคมนั้น ๆ  ไปตลอดกาล”  

  ทางด้าน  ดร.  ญาดา  ผู้สืบเชื้อสายมาจากชาวจีนแซ่ตั้งเปิดการอภิปรายในมิติของภาษา  วรรณกรรมและวรรณคดี...  “จะว่าไปจีน-ไทยก็ใช่อื่นไกลก็เป็นพี่น้องกันจริง ๆ  ซึ่งถ้าจะถามว่าชาติไหนหลอมรวมกับคนไทยได้ดีที่สุด  กลมกลืนทางวัฒนธรรมกับคนไทยได้ดีที่สุดก็คือชาติจีนนี่แหละ  จีน-ไทยใกล้ชิดกันมานานเกือบพันปีตั้งแต่ก่อนสมัยสุโขทัยเสียอีก” 

  ภาษาไทยหลาย ๆ  คำที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวันก็เอามาจากภาษาจีน  เช่น  ซาลาเปา  เกาเหลา  เต้าทึง  เต้าฮวย  ก๋วยจั๊บ  ก๋วยเตี๋ยว  ออส่วน  จับฉ่าย  เฉาก๊วย  ตือฮวน  เก้าอี้  ตะหลิว  จับกัง  เป็นต้น
วรรณคดี รัตนโกสินทร์หลายเรื่องที่บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับคนจีนเอาไว้  เช่น  สังข์ศิลป์ชัย  ที่รัชกาลที่  ๓  ทรงเล่าถึงตัวละครที่เป็นทั้งนายสำเภาและล้าต้า  (คนถือบัญชี)  ว่าคนพวกนี้เดินทางมาจากเมืองจีนโดยทางเรือสำเภา


  “มาจะกล่าวบทไป   ถึงจีนนายสำเภาล้าต้า
 ใช้ใบจากกวางตุ้งมุ่งมา   จะเข้าเมืองปัญจาเวียงชัย”
  เวลา ที่แต่งวรรณคดี  คนแต่งก็จะหยิบข้อมูลที่มีอยู่ในสมัยนั้นมาใส่  เช่น  มีชาวต่างชาติมาอยู่ในบ้านเมืองก็จะใส่เป็นรายละเอียดบ้าง  เป็นบรรยากาศบ้าง  และในสมัยรัชกาลที่  ๓  นั้นเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าท่านมีพระสมญานามว่า  “เจ้าสัว”  ค้าขายกับจีนและทรงโปรดของจีน
  คนจีนที่อพยพมาอยู่เมืองไทยส่วนใหญ่จะ เป็นคนจีนแต้จิ๋ว  ซึ่งจัดได้ว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการเพาะปลูก  ทำไร่  ทำสวน  ปลูกผัก  เมื่อได้ผลผลิตมาแล้วก็มาจำหน่ายคนไทยอีกทีหนึ่ง  และคนจีนแต้จิ๋วเหล่านี้ก็เป็นทั้งเกษตรกรมืออาชีพและเป็นแรงงานรับจ้าง ด้วย  ดังที่สุนทรภู่เขียนเอาไว้ในนิราศเมืองแกลงว่า     

   “ถึงท้องธารศาลเจ้ารับเขาขวาง  
    พอได้ทางลงมหาชลาไหล
    เขาถามเจ๊กลูกจ้างตามทางไป   
    เป็นจีนใหม่อ้อแอ้ไม่แน่นอน
    ร้องไล้ขื่อมือชี้ไปที่เขา
    ก็ดื้อเอาเลียบเดินเนินสิงขร”


  ส่วนคำว่า  “จับกัง”  ที่ได้เอ่ยถึงไปในตอนต้น  ดร.  ญาดาได้กล่าวเสริมว่า  เป็นคนจีนแต้จิ๋วกลุ่มใหญ่ที่อพยพมาอยู่ในไทยโดยใช้แรงงานเป็นหลัก  เช่น  รับจ้างแจวเรือ  (วรรณคดีบอกไว้)  ตีเหล็ก  ปลูกและขายผัก-ผลไม้ ขายผ้า  ต้มเหล้า  และขายหมู  ดังเช่นนิราศเมืองเพชรที่สุนทรภู่เขียนไว้...

  “ถึงบางหลวงล่วงล่องเข้าคลองเล็ก  ล้วนบ้านเจ๊กขายหมูอยู่อักโข
 เมียขาวขาวสาวสวยล้วนรวยโป   หัวอกโอ้อายใจมิใช่เล็ก”

  นอกจากนี้  ดร.  ญาดายังยกตัวอย่างบทนิราศพระปฐมของมหาฤกษ์ที่แต่งบทกวีแสดงถึงความน้อยเนื้อ ต่ำใจในสภาพของตนที่เป็นอยู่ที่เรียนมาเยอะแต่ไม่มีโอกาสร่ำรวยเท่าคนจีน  ซึ่งเมื่อเทียบกับคนจีนที่อพยพเข้ามาตั้งรกรากอยู่ในเมืองไทย  ความรู้ก็ไม่มี  หนังสือก็ไม่ได้เรียน  แต่อาศัยความมุมานะพยายามจนได้เป็นใหญ่เป็นโต... 

    “ถึงโรงเจ้าภาษีฆ้องตีดัง  
    ตู้หอนั่งแจ่มแจ้งด้วยแสงเทียน
    ไว้หางเปียเมียสาวขาวสร่าง 
    เป็นจีนต่างเมืองมาแต่พาเหียน
    ที่ความรู้สิ่งไรก็ไม่เรียน  
    ยังพากเพียรมาได้ถึงใหญ่โต
    เห็นดีแต่วิชาขาหมูใหญ่ 
    เราเป็นไทยนึกมาน่าโมโห
    มิได้ทำอาหารและบ่อนโป
    มาอดโซสู้กรรมทำอะไร”

  และในฐานะที่คุณยุวดีผู้สืบเชื้อสายจีนกวางตุ้ง  คุณยุวดีจึงเล่าถึงวีถีชีวิตของคนกวางตุ้งเสียเป็นส่วนใหญ่  “ในช่วงปีที่มีการอพยพกันมากของชาวจีน ในการรับรู้ของคนไทยจะเป็นคนจีนแต้จิ๋ว  เพราะว่าทั้งวรรณกรรม  วรรณคดีก็ถอดเสียงด้วยเสียงแต้จิ๋ว  แต่จริง ๆ  แล้วคนจีนอพยพที่มีจำนวนมากที่สุดในโลกคือคนจีนกวางตุ้ง  เพราะว่าคนกวางตุ้งอยู่ติดทะเล  คนที่อยู่ริมทะเลจะมีโอกาสมาได้มากที่สุด  เพราะว่าพอข้ามฝั่งมาที่ท่าเรือฮ่องกงได้แล้วก็ขึ้นเรือไปต่อได้ทั่วโลก”   ซึ่งปัจจุบันนี้ย่านบางรัก  สาทร  เรียกได้ว่าเป็นย่านที่มีคนกวางตุ้งอยู่เยอะที่สุด  เพราะแถบนั้นจะมีท่าเรือกรุงเทพและมีเรือมาจอดตามโกดังต่าง ๆ  ตลอดเวลา  เมื่อเรือเทียบท่าและขนถ่ายสินค้าแล้วก็ต้องมีการบำรุงรักษาหรือซ่อมแซมส่วน ต่าง ๆ  ของเรือ  ซึ่งคนกวางตุ้งย่านนั้นเป็นช่างกลึงที่มีความชำนาญและเชี่ยวชาญอาศัยอยู่ เป็นจำนวนมาก

  คุณยุวดียังได้พูดถึงภูมิปัญญาของชาวจีนที่นำมาเผยแพร่ในไทย  ได้แก่  น้ำปลา  ซึ่งคนแต้จิ๋วเป็นผู้คิดค้นขึ้นมา  ส่วนคนกวางตุ้งจะคิดค้นซีอิ้วขาว  ซีอิ้วดำ  น้ำมันหอย  หรือเต้าเจี้ยว  สำหรับงานในเชิงวรรณกรรมที่คุณยุวดีได้เขียนไว้ที่เกี่ยวกับคนกวางตุ้งคือ  นวนิยายเรื่อง  อาสำกับหยำฉ่า  -  สืบตำนานคนกวางตุ้งกรุงสยาม  (อาสำคือพวกแม่บ้าน  /  หยำฉ่าคือพวกผู้หญิงหากิน)    โดยมีแรงบันดาลใจมาจากการที่ไม่ค่อยมีคนรู้จักคนจีนกวางตุ้ง  จึงอยากเขียนเพื่อให้คนทั่วไปทราบว่าคนกวางตุ้งมีตัวตนอยู่ในสังคม  เรื่องกวางตุ้งเฮฮา  เป็นการเขียนรวมเรื่องราวสนุก ๆ  ของคนกวางตุ้งเข้าไว้ด้วยกัน  เรื่องครัวอาสำ  สืบนื่องจากครอบครัวชอบทำกับข้าวจึงมีความรู้ความสามารถเรื่องการทำอาหารจึง ถ่ายทอดออกมาเป็นตัวหนังสือ  และเรื่องรอยวสันต์  (ได้รับรางวัลชมนาดบุ้คไพรส์)   เรื่องนี้คุณยุวดีได้รับแรงบันดาลใจมาจากคนอาสำที่ตนเองเคยคลุกคลีอยู่ด้วย ตั้งแต่เล็ก ๆ  และตนเองก็ฟังภาษาจีนออกจึงได้รับรู้เรื่องราวต่าง ๆ  ที่เกิดขึ้นจริง ๆ  กับอาสำทั้งหลายว่าเป็นอย่างไรและเหมือนกับรู้สึกว่าอยากถ่ายทอดอยากเล่าให้ คนอื่น ๆ  ได้รับรู้ด้วย  จึงได้เขียนเป็นนวนิยายขึ้น  ซึ่งเจ้าตัวบอกว่าจะพยายามตั้งเป็นปณิธานไว้ว่าจะเขียนเรื่องราวของคน กวางตุ้งให้คนไทยได้รับรู้ต่อไป
 
 สรุปท้ายวันนั้น  ดร.ญาดา อารัมภีร กล่าวว่า
  “พระยา อนุมานราชธน  ผู้มีเชื้อสายจีนเคยกล่าวถึงตัวเองในฐานะชาวจีนในเมืองไทยไว้ว่า...  ข้าพเจ้า  แม้จะเป็นพันธุ์ลูกผสมแต่ก็ถือตนด้วยความหยิ่งว่าข้าพเจ้าเป็นไทยแท้  สมบูรณ์ทั้งชีวิตจิตใจว่าตนเป็นคนไทยทุกกระเบียดนิ้ว  ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าคนอื่นซึ่งรักถิ่นไทย  รักวัฒนธรรมไทย  ทั้งนี้เป็นด้วยเหตุอะไรตอบได้ทันทีว่า  เป็นเพราะข้าพเจ้าเกิดอยู่ในประเทศไทย  และวัฒนธรรมไทยนี้เองที่ปั้นข้าพเจ้าให้ชีวิตและจิตใจให้เป็นไทยมาตั้งแต่ อ้อนแต่ออกตราบเท่าทุกวันนี้” 

  ส่วนคุณปนัดดา  เลิศล้ำอำไพ กล่าวว่า
  “สิ่งหนึ่งที่สำคัญมากของ วัฒนธรรมจีนที่ทำให้จีนมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  ไม่แตกแยกออกจากกัน  ก็คือการที่จีนมีภาษาเขียนเพียงภาษาเดียว  จะแตกต่างที่ภาษาพูดที่จะออกเสียงตามแต่ละท้องถิ่นเท่านั้น  --  จีน-ไทยในกระจกบานเดียวกันเป็นคำที่เพราะมาก  มองไปด้านหนึ่งก็เป็นจีน  มองไปอีกด้านหนึ่งก็คือคนไทย  แล้วคนจีนก็โชคดีที่ได้เข้ามาอยู่ในเมืองไทย  เมืองไทยก็โชคดีที่เปิดแขนอ้ารับคนจีน  --  คนจีนอยู่ดีมีสุขและก็กลายเป็นกำลังสำคัญของเมืองไทย  แต่ไม่โอ่อวด  ไม่ก้าวร้าว  เคารพเจ้าของสถานที่  เคารพเจ้าบ้านเจ้าเมืองเสมอ     นี่คือนิสัยของคนจีนที่มาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร  ยิ่งมีสำนึกแห่งความเป็นจีนเท่าไหร่ยิ่งอ่อนน้อมเท่านั้น” 

   ปิดท้ายรายการกิจกรรมการส่งเสริมวัฒนธรรมไทย-จีนในวันนั้นด้วย  “เพลง  ดนตรี  กวี  จีน-ไทย  (ช่วงที่  ๒)”  กับนักร้องกิตติมศักดิ์อีก  ๔  ท่าน  ได้แก่  คุณสันติ  วิลาศศักดานนท์  ร้องเพลง  “เทียนหมี่มี่และเกาซานฉิง  (ภาษาจีน)”  ดร.  อนุชิต  อนุชิตานุกูล  ร้องเพลง  “หนูรักข้าวสาร  (ภาษาจีน)”  ดร.  ญาดา  อารัมภีร   ร้องเพลง  “เทียนหมี่มี่  (ภาษาจีน)”  และดร.  ชัยวัฒน์  วิบูลย์สวัสดิ์  ร้องเพลง  “ลอดลายมังกร”  

  “ก็ถือว่าเป็นการจบรายการของเรา  ซึ่งตอนที่กล่าวเปิดบอกว่าเป็นรายการที่เราจัดกันอย่างสนุกสนานแต่เมื่อถึง ช่วงอภิปราย...  ออกมาเชิงวิชาการซึ่งไม่หนักมาก  เพราะผู้พูดแต่ละคนพูดด้วยความรอบรู้และมีลูกเล่นทำให้เรื่องราวสนุก สนาน...  ก็ขอขอบคุณทั้งสามท่านมากที่ได้มาให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคนจีนเป็น อย่างดี  และทำให้บรรยายกาศของงานในวันนี้มีหลายมิติ  ที่มีทั้งมิติของศิลปะวัฒนธรรม  ความรู้  ความเข้าใจและความสนุกสนานที่รวมเข้าไว้ด้วยกันอย่างลงตัว....”  ---  ดร.  ชัยวัฒน์  วิบูลย์สวัสดิ์

  คนเก่าเล่าเรื่องจีน..  ไปสู่การอภิปราย  จีน-ไทย  ในกระจกบานเดียวกัน...  และจบลงด้วยเสียงหัวเราะและรอยยิ้มของทุก ๆ  คนที่มาร่วมงานในวันนั้น  คงพอเป็นเครื่องยืนยันได้ว่า  สายสัมพันธ์อันดีที่มีมาอย่างยาวนานของทั้งจีนและไทยนั้นยังคงยืนหยัดและ ยืนยงยิ่ง ๆ  ขึ้นไป  ดังตัวอักษรพู่กันจีนที่สมาคมศิลปะบูรพาฯ  ได้เขียนขึ้นและมอบไว้เป็นที่ระลึกที่หอศิลป์แห่งนี้อย่างแน่นอน...  

  

------------------------------------------------------


สุณิสา  เจริญนา  
๑๔  สิงหาคม  ๕๒
http://www.thaiwriterassociation.org/columnread.php?id=191

--
โปรดอ่านบล็อก
http://www.pridiinstitute.com
http://www.nakkhaothai.com
http://apps.facebook.com/blognetworks/index.php
http://www.roundfinger.com/
http://twitter.com/sweetblog
http://twitter.com/oknewsblog
http://twitter.com/okblogger
http://twitter.com/sat191
http://www.pacc.go.th/
http://twitter.com/okblogchan
http://twitter.com/sun1951
http://twitter.com/smeblogger
http://twitter.com/seminarblog
http://twitter.com/sunnewsblog
http://twitter.com/okworldblog
http://twitter.com/ktblogger
http://twitter.com/sundayblog
http://twitter.com/mondayblog
http://twitter.com/tuesdayblog
http://twitter.com/wednesdayblog
http://twitter.com/thursdayblog
http://twitter.com/fridayblog
http://twitter.com/saturdayblog
http://www.deepsouthwatch.org/node/687
http://www.tu.ac.th/org/ofrector/tu_council/record/nopporn.htm
http://www.visalo.org/

'เกาะซาโมซีร์' แดนนี้มีมนุษย์กินคน

'เกาะซาโมซีร์' แดนนี้มีมนุษย์กินคน ดูภาพชุดจาก Manager Multimedia
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 15 กุมภาพันธ์ 2553 17:17 น.
       โดย :มะเมี้ยะ

หมู่บ้านอัมบาริต้าบนเกาะซาโมซีร์
       เคยได้ยินตำนานมนุษย์กินคนแห่งหมู่เกาะโซโลมอน เกาะที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก เป็นหมู่เกาะที่สวยงามและอุดมสมบูรณ์ จึงได้ชื่อว่าไข่มุกแห่งแปซิฟิค ฉันก็ยังเฉยๆ เพราะคิดว่าคงหาโอกาสไปที่นั้นได้ยากยิ่ง คงไม่มีวาสนาจะได้ไปยลโฉมเหล่ามนุษย์กินคนยังดินแดนแห่งนั้น
       
       แต่ไม่นึกไม่ฝันว่ามาวันหนึ่งจะได้มายืนอยู่บน "เกาะซาโมซีร์" ( Samosir ) เกาะกลางทะเลสาบโทบา แห่งเมืองเมดาน ประเทศอินโดนีเซีย เกาะที่มีประวัติศาสตร์เลื่องลือเรื่องมนุษย์กินคน แถมยังอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภูมิภาคเดียวกับเราเสียด้วย

บ้านเก่าแก่ที่หมู่บ้านโดกัน
       ฉันขอบอกเล่าเก้าสิบสักนิดว่า ชาวเกาะซาโมซีร์เป็นกลุ่มชนพื้นเมืองที่มีชื่อเรียกขานว่า "บาตัก" (Batak) ซึ่งในหมู่ชาวบาตักนั้นยังแยกย่อยลงมาได้อีกเป็น 5 กลุ่มใหญ่และอีกหลายกลุ่มย่อย กลุ่มใหญ่ก็คือ โทบา (Toba) ปัก ปัก (Pak Pak) สิมาลุงกัน (Simalungun) คาโร (Karo) และ เมนดาลิง (Mandailing) ซึ่งจะมีอาณาเขตที่อยู่อาศัยอย่างชัดเจน ในแต่ละกลุ่มจะมีราชาหรือผู้นำเผ่าของตน ชาวบาตักนั้นมีความเชื่อที่เข้มแข็งในเรื่องเวทมนต์ ภูตผี ปีศาจ คาถา แม่มด หมอผี วิญญาณ รวมไปถึงการกินเนื้อมนุษย์เป็นอาหาร

คุณยายชาวบาตักเก็บผักไปเป็นอาหารที่หมู่บ้านโดกัน
       จวบจนกระทั่งชาวดัทซ์ล่าอาณานิคมมาจนถึงที่นี่ มิชชันนารีจึงได้เข้ามาเผยแพร่ศาสนาคริสต์ ทำให้หลังจากนั้นชาวบาตัก จึงได้เปลี่ยนความเชื่อมานับถือศาสนาคริสต์ รับมาผสมผสานกับความเชื่อดั้งเดิมและเลิกกินมนุษย์ ซึ่งในปัจจุบันอาชีพที่ชาวบาตักยึดเป็นอาชีพหลักคือ การประมง งานหัตถกรรมที่มีฝีมือดีเยี่ยมไม่เป็นสองรองใคร และเมื่อเกาะซาโมซีร์เริ่มมีชื่อเสียงเป็นแหล่งท่องเที่ยว ก็มีชาวบาตักจำนวนไม่น้อยที่หันมาทำอาชีพค้าขายกับนักท่องเที่ยว

คุณป้าคุณลุงชาวบาตักเจ้าของบ้านเก่าแก่ที่หมู่บ้านโดกัน
       อันนี้จริงแล้วตั้งแต่ยังไม่ขึ้นเกาะ ฉันก็ได้แวะไปชิมลางสัมผัสวิถีแห่งมนุษย์กินคนมาบ้าง ที่เมือง "บราสตากี้" (Berastagi) เมื่อเดินทางไปที่หมู่บ้าน "โดกัน" (Dokan) ซึ่งเป็นบ้านเมืองของชนเผ่า "บาตัก คาโร" (Batak Karo) อีกหนึ่งเผ่าอดีตมนุษย์กินคนมาก่อน
       
       กล่าวกันว่าบรรพบุรุษของพวกเขาอาศัยอยู่ที่นี่มานานกว่า 1,500 ปีมาแล้ว ในหมู่บ้านมีบ้านโบราณอายุ 200 ปีอยู่ 7 หลัง ลักษณะพิเศษอันโดดเด่น คือ หลังคารูปทรงคล้ายเรือที่จะพบเห็นได้ทั่วไป ทั้งที่นี่และที่เกาะซาโมซีร์ ในบ้านหนึ่งหลังอาศัยกันอยู่เป็นแบบครอบครัวใหญ่ หลายสิบคน ในบ้านแบ่งเป็นสัดส่วนทั้งห้องครัวและห้องนอน

วังกษัตริย์ที่ลองเฮ้าส์
       นอกจากนี้ยังแวะไปเที่ยวที่ "บ้านลองเฮ้าท์" (Simalangun Batak Long House) ที่อยู่ห่างออกไป อันเป็นที่อยู่ของชาว "บาตัก สิมาลุงกัน" (Batak Simalungun) ที่นี่มีวังเก่าแก่อายุกว่า 200 ปี สืบทอดแบบรุ่นสู่รุ่น ปกครองผ่านกระแสกาลเวลาด้วยกษัตริย์ 14 องค์ที่สืบทอดกันมา จนกระทั่งกษัตริย์องค์สุดท้ายถูกชาวบ้านสังหารเพราะฝักใฝ่คอมมิวนิสต์ ลักษณะบ้านเป็นเรือนไม้ทรงหลังคาสูงรูปร่างคล้ายเรือจั่วแหลมๆ อีกเช่นกัน บ้านรูปทรงแบบนี้เป็นเอกลักษณ์ของชาวบาตักที่เห็นได้ทั่วไปนั่นก็คือ การออกแบบหลังคามีลักษณะสูง มีสีดั้งเดิมจะเป็นสีแดง ดำ ขาว ในการสร้างลวดลายแก่บ้าน
       
       ในวัง (ที่ฉันอยากจะเรียกว่ากระท่อมหลังใหญ่เสียมากกว่า) ประกอบด้วย ที่นอน ห้องโถงใหญ่ที่ใช้ทำครัวและเลี้ยงลูก บัลลังก์กษัตริย์หรือที่เรียกว่า Pattangan Raja ตั้งติดอยู่กับห้องประชุมขุนนาง มีห้องแยกต่างหากให้บรรดาสนมท้าวนาง

ท่าเรือที่จะพาไปยังเกาะซาโมซีร์
       แต่มันก็ไม่ระทึกใจเท่ากับ การที่ได้มาเจอบรรดาลูกหลานของมนุษย์กินคนบนเกาะซาโมซีร์ สำหรับเผ่าที่อยู่บนเกาะซาโมซีร์ที่เป็นกลุ่มใหญ่ที่สุด เรียกชื่อตามชื่อของทะเลสาบว่า "บาตัก โทบา" (Batak Toba)
       
       บนเกาะซาโมซีร์ เกาะที่อยากจะย้ำอีกสักครั้งว่าใหญ่กว่าประเทศสิงคโปร์ ฉันแวะขึ้นเยี่ยมชมที่ที่หมู่บ้าน "อัมบาริต้า" (Ambarita) หรือ "อาณาจักรไวลากัน" ในอดีต และเป็นเกาะที่ตั้งอยู่กลางทะเลสาบโทบา ชื่อหมู่บ้านนี้แปลว่า ความมีชื่อเสียง ฉันมาที่นี่เพื่อมาดู Stone Chairs ที่มีเรื่องราวเล่าว่าเป็นโต๊ะสำหรับใช้ในการกินคน โดยจะมีโต๊ะหินทั้งหมด 2 ชุด คนที่นั่งกินที่โต๊ะจะเป็นหัวหน้าเผ่าและบรรดาบุคคลสำคัญในเผ่า

เกาะซาโมซีร์ สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญในทะเลสาบโทบา
       แล้วเอาคนจากไหนมากินล่ะ...
       
       สมัยก่อนบนเกาะเองก็มีการรบพุ่งกันระหว่างเผ่าอยู่เนืองๆ ดังนั้น จึงมีเชลยศึกหรือบรรดานักโทษถูกนำตัวมาให้เป็นอาการอันโอชะอยู่เสมอ ที่ Stone Chairs จะมีการสาธิตวิธีการฆ่า (ฆ่าปลอมไม่ได้ฆ่าจริง) ให้ดูเป็นตัวอย่างด้วย

ลีลาซุกซนของเด็กๆ ชาวบาตัก โทบา บนเกาะซาโมซีร์
       โดยจะมัดผู้ถูกสำเร็จโทษแล้ววางไว้บนหินก้อนใหญ่ก้อนหนึ่ง พร้อมทั้งปิดตาใช้มีดปัดแขนขานักโทษเพื่อดูดพลังชีวิตให้ออกจากร่างกายไป จากนั้นพาไปผ่าท้องเพื่อเอาเครื่องในไปให้คนในหมู่บ้านกินกันสดๆ ตัดหัวเพื่อเอาเลือดไปให้กษัตริย์ดื่มกิน คนเป็นกษัตริย์จะถือไม้เท้าอาญาสิทธิ์เป็นสัญลักษณ์ ส่วนหัวที่ถูกตัดจะนำไปแช่ในทะเลสาบ 7 วัน ไม่รู้กี่ชีวิตที่ต้องสังเวย คิดแล้วฉันอดขนลุกไม่ได้
       
       หมู่บ้านนี้อยู่ภายใต้การปกครองของตระกูล Sailagan บ้านของกษัตริย์ชายมี "หน้าต่างบานเล็ก" อยู่หน้าบ้าน ส่วนบ้านเจ้าหญิงมี "นม" อยู่หน้าบ้านหลายเต้าเชียว "นม" คือค่านิยมเฉพาะของที่นี่ จะเกี่ยวข้องต่อการเลือกผู้หญิงมาเป็นภรรยาหรือลูกสะใภ้ เพราะเชื่อว่าต้องดูนมเป็นหลัก ยิ่งใหญ่ยิ่งดีเนื่องจากสมัยโบราณจะต้องใช้นมเลี้ยงลูกหลายคน จึงเป็นที่มาของความนิยมหญิงที่หน้าอกใหญ่

จิ้งจกและนมสัญลักษณ์ของซาโมซีร์
       ส่วนคุกและที่ทรมานนักโทษอยู่ใต้ถุนบ้าน ตรงกลางหมู่บ้านเป็นที่ตั้งของศาลตัดสินคดีความ ถัดไปเป็นลานประหารและอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ที่หมู่บ้านอัมบาริต้านี้เหมาะสำหรับคนชอบซื้อของที่ระลึก โดยเฉพาะของที่ผลิตกับมือ เช่น ตุ๊กตาสลักจากไม้ พิณไม้ รองเท้าสาน ราคาถูกฝีมือดี
       
       อ้อ...บนเกาะซาโมซีร์มีสัตว์ที่เป็นสัญลักษณ์ที่เราสามารถพบเห็นได้ทั่วไปด้วย คือ "จิ้งจก" ไม่ได้มีไว้ธรรมดา แต่มีความหมายด้วย หมายถึง การปรับตัวและมิตรภาพของชาวเกาะ

ที่พักสไตล์บ้านบาตักบนเกาะซาโมซีร์
       บนเกาะเดียวกันฉันมุ่งหน้าต่อเพื่อไปหมู่บ้าน "โตโม๊ะ" (Tomok) ชื่อหมู่บ้านแปลว่า หมู่บ้านคนอ้วน เพื่อชมสุสาน "กษัตริย์ซีดาบุตรา" (Raja Sidabutar) สุสานเก่าแก่ 200 กว่าปี สุสานแห่งตระกูลราชาจอมขมังเวทย์ ที่กล่าวกันว่าสามารถเรียกลมเรียกฝนได้ มีคาถาแกร่งกล้า
       
       หมู่บ้านนี้ดูใหญ่และเจริญตา มีสินค้าของที่ระลึกเรียงรายเต็มตลอดสองข้างทาง ตัวหมู่บ้านมีอายุกว่า 460 ปี ส่วนตัวสุสานที่ฉันเดินทางมาเยี่ยมชมนั้น ก่อนเข้าชมต้องเข้าซุ้มรับผ้าสไบจากผู้ดูแลสุสานมาพาดบ่า แล้วเดินขึ้นบันไดไปบนเนินเล็กๆ การรับผ้ามาพาดบ่านี้เป็นธรรมเนียมที่ผู้มาสุสานนี้ต้องปฏิบัติตามทุกคน เพราะหมายถึงการเข้าเฝ้าฯ ต่อหน้ากษัตริย์

การสาธิตวิธีฆ่าคนก่อนกิน
       ในสุสานมีโลงศพหินเรียงรายตั้งอยู่หลายขนาด แต่โลงที่สำคัญคือโลงของกษัตริย์สามองค์ คือ 1.Oppu Ratu Sidabutar 2.Oppu Solompuan Sidabutar องค์ที่สองนี้มีคู่หมั้นที่งดงามเป็นที่หมายปองของผู้นำชนเผ่าอื่นชื่อ อันติงมาไลลา (Anting Malela By Sinaga) คงเพราะความงามเป็นเหตุทำให้ถูกเวทย์มนต์จนเป็นบ้า หนีหายเข้าป่าไปตามหาไม่เจอ เมื่อกษัตริย์องค์ที่สองสิ้น จึงปั้นรูปนางไว้บนฝาโลงศพ รูปปั้นของกษัตริย์องค์ที่สองนี้มักจะมีผู้คนไปอธิษฐานขอพรอยู่เสมอ ส่วนวิธีอธิษฐานนั้นก็ให้กระซิบริมหูของรูปปั้นกษัตริย์ ส่วนองค์ที่สาม Ompu Sor: Buntu Sidabutar เป็นกษัตริย์ที่เปลี่ยนการนับถือภูต ผี มานับถือศาสนาคริสต์

สุสานตระกูลซีดาบุตรา
       นอกจากสองหมู่บ้านนี้แล้ว บนเกาะซาโมซีร์ยังมีที่พักมากมายไว้สำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการมาพักผ่อน ที่พักส่วนใหญ่จะอยู่ที่หมู่บ้าน "ตุ๊ก ตุ๊ก" (Tuk Tuk) คาดคะเนด้วยสายตา ฉันยังคิดว่าที่พักที่นี่ดูจะมากกว่าคนมาเที่ยวเสียด้วยซ้ำ ที่เป็นแบบนี้คงเพราะเหตุการณ์ภายในของอินโดนีเซีย ทั้งเรื่องการเมืองและภัยพิบัติจากธรรมชาติที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งทำให้นัก ท่องเที่ยวค่อยๆ ห่างหายไปเรื่อยๆ ทั้งที่เมื่อราว 10 กว่าปีก่อนที่นี่เคยขึ้นชื่อเรื่อง Full Moon Party กว่าที่บ้านเราเสียอีก

งานหัตถกรรมที่ชาวบาตักทำไว้ขายนักท่องเที่ยว
       นักท่องเที่ยวที่มีเวลามากหน่อย โดยมากแล้วจะนิยมพักที่ ตุ๊ก ตุ๊ก ก่อนจะเช่าจักรยานหรือมอเตอร์ไซค์ขี่วนรอบเกาะ บนถนนที่ตัดเรียบไปตามทะเลสาบ ก่อนที่จะแวะไปหมู่บ้านอัมบาริต้าและหมู่บ้านโตโม๊ะ ส่วนฉันเป็นพวกเวลาน้อยได้มารู้มาเห็น เหยียบแดนมุนุษย์กินคนก็แสนจะคุ้มค่าเกินพอ
       
       * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
       
       "เกาะซาโมซีร์" ตั้งอยู่ในทะเลสาบโทบา ในเมืองเมดานบนเกาะสุมาตราเหนือ ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งล่าสุดสายการบินไทยแอร์เอเชีย ได้เปิดบินตรงจากภูเก็ตสู่เมดาน สัปดาห์ละ 3 เที่ยวบิน ในวันอาทิตย์/พุธ/ศุกร์ ใช้เวลาบินจากภูเก็ตประมาณ 1 ชั่วโมง ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โทร. 0-2515-999 หรือที่ www.airasia.com
http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9530000021901

--
โปรดอ่านบล็อก
http://www.pridiinstitute.com
http://www.nakkhaothai.com
http://apps.facebook.com/blognetworks/index.php
http://www.roundfinger.com/
http://twitter.com/sweetblog
http://twitter.com/oknewsblog
http://twitter.com/okblogger
http://twitter.com/sat191
http://www.pacc.go.th/
http://twitter.com/okblogchan
http://twitter.com/sun1951
http://twitter.com/smeblogger
http://twitter.com/seminarblog
http://twitter.com/sunnewsblog
http://twitter.com/okworldblog
http://twitter.com/ktblogger
http://twitter.com/sundayblog
http://twitter.com/mondayblog
http://twitter.com/tuesdayblog
http://twitter.com/wednesdayblog
http://twitter.com/thursdayblog
http://twitter.com/fridayblog
http://twitter.com/saturdayblog
http://www.deepsouthwatch.org/node/687
http://www.tu.ac.th/org/ofrector/tu_council/record/nopporn.htm
http://www.visalo.org/

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
Thailand
ข่าวสาร ข้อมูล ทุกด้านต้องรับฟัง ไม่เชื่อสิ่งที่เห็น ฟังข่าวสารเพียงฝ่ายเดียว ต้องรู้เท่าทันในการรับรู้ข่าวสารจากทุกแหล่งข่าว FACT - Freedom Against Censorship Thailand กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย http://facthai.wordpress.com/ http://twitter.com/jiew ● ปรึกษาปัญหากฏหมาย ละเมิด,สัญญา,อายัดทรัพย์ ยึดทรัพย์ ปัญหาติดต่อราชการ ฟรี ● พิมพ์รายงาน,ค้นหาข้อมูล, ● งานพิมพ์ Lay-Out,Art Work สำนักพิมพ์ดาวหาง www.sanamluang.bloggang.com สนใจติดต่อสอบถาม workingmailhome@hotmail.com