"เชิญชวนทุกท่านร่วมสร้างสรรค์กฎหมายเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน"

ฉันไม่ชอบกฎหมาย
Bookmark and Share
Blognone

วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2553

มลายูลุ่มน้ำเจ้าพระยาปัตตานี สู่ ปากลัด 224 ปี

 

มลายูลุ่มน้ำเจ้าพระยาปัตตานี สู่ ปากลัด 224 ปี

      

 เมื่อกล่าวถึง (ปัตตานี) คนส่วนใหญ่มักจะมองดินแดนดังกล่าวในกรอบความคิดว่าเป็นชายแดนที่มีชาวมุสลิม อันเป็นคนกลุ่มน้อยของประเทศไทย แต่หากมองย้อนกลับในอดีตจะพบว่า ดินแดนแถบนี้คือรัฐปัตตานีที่มีพัฒนาการทางด้านการเมือง เศรษฐกิจและวัฒนธรรมจากอาณาจักรโบราณบนคาบสมุทรมลายู ที่ผูกพันกับระบบการค้าทางทะเลปัตตานีเคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรลังกาสุกะ รุ่งเรืองขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 7 ด้วยทรัพยากรแร่ธาตุและที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่เหมาะสม ส่งผลให้เมืองท่าแห่งนี้ เติบโตเป็นสถานีการค้าใหญ่ที่มีคนหลากหลายเชื้อชาติเข้ามาติดต่อสัมพันธ์ เกิดเป็นชุมชน และตลาดการค้า ก่อนจะพัฒนาสู่อาณาจักรสำคัญบนคาบสมุทรมลายู

         ลังกาสุกะเจริญรุ่งเรืองมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ 20 จึงลดบทบาทจากเมืองท่านานาชาติเป็นเพียงเมืองท่าระดับท้องถิ่น จากนั้นชื่อลังกาสุกะก็ค่อยๆ เลือนหายไปจากบันทึกต่างๆ กระทั่งปรากฏชื่อของ “ปัตตานี” ขึ้นแทนที่ตระกูลผู้สร้างปัตตานี คือราชวงศ์ศรีวังสา เป็นผู้ย้ายเมืองจากลังกาสุกะมายังปัตตานี จากนั้นโอรสของพระองค์นามว่าพญาอินทิรา สืบราชสมบัติต่อแล้วเปลี่ยนมารับนับถืออิสลามพร้อมกับเปลี่ยนพระนามเป็น สุลต่านอิสมาแอล ชาห์ แห่งปัตตานีดารุสสาลาม (นครแห่งสันติ)

         ตามหลักฐานปรากฏให้เห็นได้ชัดว่าศาสนาอิสลามเข้ามาตั้งอยู่อย่างมั่นคงใน บริเวณทางตอนเหนือของสุมาตราตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 18 แต่ยังไม่ได้เผยแพร่ในวงกว้าง ต่อมาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 อิสลามได้แผ่ขยายจากปาไซในเกาะสุมาตราไปยังมะละกาแล้วมุ่งไปตะวันออกที่ เทอร์เนต และติมอร์ ส่วนทิศเหนือก็ได้แผ่ไปถึงปัตตานี และจามปา ทางตอนใต้ของเวียดนาม

         นับตั้งแต่ศาสนาอิสลามเข้ามานั้น  ปัตตานีรุ่งเรืองทางการค้าสืบเรื่อยมาจนถึงยุคทองสมัยราชวงศ์ศรีวังสาซึ่ง ปกครองโดยรายาสตรีทั้งสี่ ได้แก่ รายาฮีเยา รายาบีรู รายาอูงู และรายากุนิง โดยเฉพาะรายาฮีเยาทรงเปิดประเทศรับชาวต่างชาติเข้ามาค้าขายที่ปัตตานี  ทำให้เศรษฐกิจรุ่งเรือง ชาติตะวันตก เช่น โปรตุเกส ฮอลันดา และชาวตะวันออก เช่น อาหรับ จีน และญี่ปุ่น ต่างเข้ามาติดต่อค้าขายที่ปัตตานีนอกจากนี้ยังมีการส่งทูตไปเจริญสัมพันธ ไมตรีกับนานาประเทศ  ร่วมทั้งกรุงศรีอยุธายาด้วย

         เมื่อกล่าวถึงกรุงศรีอยุธายา พ.ศ. 2310 ที่ไทยเราเสียกรุงครั้งที่ 2 จากการทำลายเมืองศรีอยุธยา โดยกองทัพของพม่าในช่วงนั้นจนถึงยุคกรุงธนบุรีอีก 15 ปี คือระหว่างปี พ.ศ. 2310 – 2325 ประเทศไทยอยู่ในระหว่างการฟื้นฟูประเทศ อาณาเขตแว่นแคว้นทั้งหลายแตกกระจัดกระจายยังไม่รวมกันเหนียวแน่นเป็นปึกแผ่น

        จนถึงยุคกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีเริ่มปี พ.ศ.  2325 ต่อมาในปี พ.ศ. 2328 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาล ที่ 1 ได้ส่งพระอนุชาคือ สมเด็จกรมพระราชวังบวรสถานมงคล (พระเจ้าเสือ) เป็นทัพหลวง มีพระยาราชบังสัน (แม้น) ขุนนางมุสลิมเชื้อสายสุลต่านสุไลมานชาห์ ซึ่งเป็นแม่ทัพเรือในสมัยรัชการที่ 1 เป็นทัพหน้า  สมทบด้วยเจ้าพระยานครแห่งเมืองนครศรีธรรมราช

       เมื่อสยามชนะสงคราม  พร้อมกับยึดเอาปืนใหญ่ 2 กระบอกที่ชื่อว่า   ศรีนากือรี (ศรีนคร) กับศรีปาตานี (ปัจจุบันอยู่หน้ากระทรวงกลาโหม) ลงแพเพื่อจะล่องเอาไปกรุงเทพฯ แต่ปืนใหญ่ศรีนากือรีตกลงทะเลเสียก่อน พร้อมกับควบคุมลูกหลานสุลต่านพร้อมด้วยวงศานุวงศ์ ขุนนางชั้นผู้ใหญ่และประชาชนจำนวนประมาณ 4,000 เป็นตัวประกัน รวมทั้งทรัพย์สินที่ยึดได้ นำลงเรือดินทางไปบางกอกด้วย

       พระยากลาโหมได้นำเชลยชาวปัตตานี 4,000 คนลงเรือไปยังกรุงเทพฯ ระหว่างเดินทาง เชลยบางคนกระโดดจากเรือลงทะเลหลบหนี จะรอดก็มีบ้าง บางส่วนก็ตายในทะเล ดังนั้นเพื่อมิให้ชาวปัตตานีกระโดดทะเลหนีทหารสยามได้ใช้วิธีร้อยหวายที่ เอ็นหนือส้นเท้าของเชลยเหล่านั้น ผูกพ่วงต่อกันหลายๆ คน เชลยที่เป็นหญิง จะถูกร้อยใบหูพ่วงไว้เช่นเดียวกัน และให้นั่งอยู่ในเรือเดินทางไปจนถึงบางกอกบางคนเจ็บป่วยล้มตายในเรือระว่าง เดินทาง ที่ไม่ตายก็เกิดแผลเป็นฝีหนองเจ็บป่วยทุกขเวทนาเป็นอย่างยิ่ง

         เมื่อถึงบางกอกลูกหลานสุลต่านแห่งปัตตานีก็ได้ถูกนำไปอยู่หลังวัดอนงคาราม ฝั่งธนบุรี ซึ่งบริเวณดังกล่าวเรียกกันว่า บ้านแขกมลายู หรือ "บ้านแขก" (ปัจจุบันคือสี่แยกบ้านแขกบ้านสมเด็จเจ้าพระยาธนบุรี) ส่วนเชลยที่เป็นคนธรรมดาสามัญก็ถูกเกณฑ์ไปใช้แรงงานโดยขุดคลองแสนแสบและจัดที่ให้ทำไร่ทำนารอบๆ พระนคร เช่น พื้นที่เขตปทุมธานี, หนองจอก, มีนบุรี, ท่าอิฐ, ปากลัด พระประแดง

 ลุ่มน้ำเจ้าพระยา  สู่  ปากลัด

        ชุมชนหรือเรียกชื่อหนึ่งว่าบ้านปากลัด เป็นชุมชนมุสลิมเก่าแก่ที่สุดในจังหวัดสมุทรปราการ   พี่น้องมุสลิมที่นี้แบ่งออกเป็น 2 รุ่น คือ มุสลิมรุ่นแรกอยู่มาตั้งแต่เดิม ก่อนกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นมุสลิมที่มีเชื้อสายที่มาจากมะละกา จากประเทศอินเดียซึ่งเดินทางมาค้าขายและปักหลักมาช้านาน บริเวณฝั่งตลาดพระประแดง ซึ่งปัจจุบันลูกหลานคนกลุ่มนี้ไปนับถือศาสนาพุทธ

        ส่วนมุสลิมรุ่นที่สองนั้นมาอยู่ในราว 200 ปี ช่วงตอนต้นรัชกาล ที่ 1 ของกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2329 ซึ่งเป็นเชลยศึก ที่ถูกจับมาจากเมืองปัตตานี เนื่องจากเจ้าเมืองปัตตานีเป็นฝ่ายแพ้สงคราม เชลยศึกที่นำมาบ้านปากลัดนั้น ส่วนมากจะเป็นคนที่ค่อนข้างมีความรู้ทางด้านศาสนา จากนั้นก็ได้มีญาติพี่น้องจากปัตตานีมาเยี่ยมแต่ไม่ได้กลับไป   จนกลายเป็นชุมชนมุสลิมขึ้นคู่กับชาวมอญที่หนีภัยสงครามมาอยู่ที่ปากลัด

          สังคมในยุคแรกใช้ภาษามลายูเป็นหลัก เป็นสังคมเกษตร ทำนา ทำสวนหาปลา พึ่งพาธรรมชาติ การเดินทางใช้แม่น้ำลำคลองเป็นทางสัญจร จากการที่เป็นเชลยจะทำกิจกรรมบางอย่างทำได้ยาก การรวมตัวกันมากๆ ก็จะถูกทางการเพ็งเล็งตลอดเวลา ด้วยสาเหตุที่เป็นเชลยศึกเกรงว่าถ้ารวมตัวกันจะเกิดการแข็งเมืองขึ้นมาอีก

         เมื่อเวลาผ่านไป จากสังคมเกษตรเปลี่ยนเป็นสังคมอุสาหกรรม วิถีชีวิตของคนในชุมชนก็เปลี่ยนไปด้วย ภาษามลายูที่ใช้ก็หายไป  อาชีพที่เคยพึ่งพาธรรมชาติก็หมดไป  เพราะทุกคนต้องแข่งขันกันทำงาน  อยู่ในโรงงานอยู่ในสำนักงาน อยู่ในห้างร้านต่างๆ  รวมทั้งมีเครื่องมือสื่อสารในการรับรู้มากขึ้น

 ประวัติมัสยิดดารอสอาดะห์

        ดารอสอาดะห์ แปลว่า หมู่บ้านเจริญสุข ดังนั้น มัสยิดดารอสอาดะห์จึงเป็นสถานที่นมัสการของหมู่บ้านเจริญสุข   ดังที่ผู้ก่อตั้งคนแรกตั้งเอาไว้ และอยู่มาจนถึงวันนี้ และในอนาคตต่อไป

มัสยิดดารอสอาดะห์ หลังแรกเป็นมัสยิดเรือนไม้ ชั้นเดียว  ตั้งอยู่บนเนื้อที่ประมาณ 300 ตารางวา   ซึ่งที่ดินผืนดังกล่าวได้รับการบริจาค (วากัฟ) จาก ฮัจยีซาอิ้ล (บุตรโต๊ะวังปานา) ตามประวัติมัสยิดดารอสอาดะห์ เรือนไม้สร้างขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ.2339   ใช้ประกอบศาสนกิจมาเป็นเวลาประมาณ 100 ปี มาในสมัย ฮัจยีอับบาส  แสงวิมาน (อิหม่าม) ฮัจยีอับดุลเลาะห์การีมี (โต๊ะกีดำ คอเต็บ)นายอับดุลเราะห์มาน แสงวิมาน (บิหล่าน) 

มัสยิดดารอสอาดะห์หลังที่สองขึ้นทดแทนมัสยิดเรือนไม้ ที่หมดสภาพตามกาลเวลา หรือความจำเป็นตามการใช้งานในสมัยนั้น พร้อมทั้งได้ร่วมบริจาคสมทบในการก่อสร้างจนแล้วเสร็จ  อาคารมัสยิดหลังดังกล่าวเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น โดยมี นายกอเซ็ม แปลน ชาวอินโดนีเซีย  เป็นผู้ออกแบบ และมีช่างชาวไต้หวันทำการก่อสร้างในโครงสร้าง  ส่วนที่เป็นไม้ได้นำไม้จากมัสยิดหลังแรกมาใช้งานทั้งหมด (เป็นไม้สักส่วนใหญ่) ใช้งบประมาณในการก่อสร้างในขณะนั้นประมาณ 40,000 บาท   ซึ่งเป็นอาคารมัสยิดที่มีสถาปัตยกรรมที่ทันสมัยในยุคนั้น ทั้งความสวยงาม ความแข็งแรง   ตลอดวัสดุอุปกรณ์ที่นำมาใช้มีคุณค่าจนถึงปัจจุบัน เช่น หินอ่อนจากอิตาลี ประตูไม้สัก เป็นต้น  และสามารถรองรับผู้ที่มาละหมาดได้เป็นจำนวนมาก  ตลอดจนกิจกรรมต่าง ๆ ที่มีขึ้นเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

 มัสยิดดารอสอาดะห์หลังแรกสร้างประมาณ พ.ศ. 2339 ซึ่งเป็นไม้สักชั้นเดียวใต้ถุนสูง เรือนไทยแบบภาคใต้ 

มัสยิดฯหลังที่สองนี้ก่อสร้างใน พ.ศ. 2465 และมีอายุการใช้งานโดยประมาณ 78 ปี ตลอดอายุการใช้งานได้มีการบูรณะ ซ่อมแซมปรับปรุงมาหลายครั้ง เช่น พื้นชั้นดาดฟ้าและชั้นล่างของอาคาร ทำการฉาบปูนฝาผนังใหม่ เป็นต้น รูปทรงของตัวอาคารแบบผสมผสาน เช่น เสาแบบโรมัน , หลังคาทรงจั่วแบบไทย , หน้าต่างประตูแบบอาหรับ , ยอดโดมแบบมาลายู

ประวัติโรงเรียนสามัคคีธรรมอิสลาม

       โรงเรียนสามัคคีธรรมอิสลาม  ตั้งอยู่บนเนื้อที่ดิน จำนวน 200 ตาราวาง ซึ่งสมาคมส่งเสริมการศึกษาอิสลาม (ส.ศ.อ.) โดยการนำของ อัลมัรฮูม ฮัจยี ฟูอั๊ด ตระกูลมาลี เป็นแกนนำในการจัดซื้อที่ดิน เพื่อวากั๊ฟให้กับมัสยิดดารอสอาดะห์ โดยเจ้าของที่ดิน คือ อัลมัรฮูม ฮัจยีหะมะ อิสมาแอล (งามเปลี่ยน) และอัลมัรฮูมะห์จูตี (ภรรยาแชชล) โดยได้ทำการจัดแบ่งขายที่ดินเป็นตารางวาขายให้กับผู้ที่ประสงค์จะซื้อที่ดิน วาก๊าฟให้กับ  มัสยิดในตารางวาละ  100  บาท  เมื่อขายที่ดินได้เงินพอกับราคาที่ซื้อแล้ว  ก็จะนำเงินไปชำระเป็นค่าที่ดินให้กับเจ้าของที่ดิน   

       หลังจากนั้น ก็ได้โอนที่ดินมาเป็นชื่อของอัลมัรฮูมฮัจยีหวังอิน สะมะพันธุ์  ซึ่งเป็นกรรมการท่านหนึ่งของมัสยิดต่อมาอัลมัรฮูมฮัจยีอบูบากัร (แชบก) วรรณวิจิตรได้ดำริให้จัดสร้างโรงเรียนสอนศาสนาขึ้น  โดยได้ร่วมกับ  อัลมัรฮูมมะห์ฮัจยะห์มาเรียม (ดอยา) สมานแก้ว ออกค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง   โดยให้อัลมัรฮูมช่างสมัย โต๊ะยี  เป็นหัวหน้าช่างก่อสร้าง  โดยให้เอาแบบบ้านของอัลมัรฮูมฮัจยีอับดุลเลาะห์  ศรีสุวรรณฑา ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับคลองแขก    โดยสร้างแบบเหมือนกันเป็นเรือนไม้สองชั้น  สิ้นค่าก่อสร้างทั้งสิ้น 5 – 6 หมื่นบาท

       ลุงแช่ม  พรหมยงค์ (อดีตจุฬาราชมนตรีท่านที่ 12)ได้ตั้งชื่ออาคารเรียนหลังนี้ให้เป็นภาษาอาหรับว่า  “ฮ่าดีก้อตุ้ลมู่อาลีฟ”  หมายถึง สวนแห่งการเรียนรู้

ชุมชนบ้านปากลัด  ตั้งอยู่ในตำบลบางพึ่ง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ มีหมู่บ้านทั้งหมด 19 หมู่ บ้านเรือนประมาณ 800 หลังคาเรือนมีประชากรหลายหมื่นคน แยกเป็นสัปบุรุษ ประมาณห้าพันกว่าคน

http://gotoknow.org/blog/daros/327914


โปรดอ่านบล็อก
http://www.pridiinstitute.com
http://www.nakkhaothai.com
http://apps.facebook.com/blognetworks/index.php
http://www.roundfinger.com/
http://twitter.com/sweetblog
http://twitter.com/oknewsblog
http://twitter.com/okblogger
http://twitter.com/sat191
http://www.pacc.go.th/
http://twitter.com/okblogchan
http://twitter.com/sun1951
http://twitter.com/smeblogger
http://twitter.com/seminarblog
http://twitter.com/sunnewsblog
http://twitter.com/okworldblog
http://twitter.com/ktblogger
http://twitter.com/sundayblog
http://twitter.com/mondayblog
http://twitter.com/tuesdayblog
http://twitter.com/wednesdayblog
http://twitter.com/thursdayblog
http://twitter.com/fridayblog
http://twitter.com/saturdayblog

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
Thailand
ข่าวสาร ข้อมูล ทุกด้านต้องรับฟัง ไม่เชื่อสิ่งที่เห็น ฟังข่าวสารเพียงฝ่ายเดียว ต้องรู้เท่าทันในการรับรู้ข่าวสารจากทุกแหล่งข่าว FACT - Freedom Against Censorship Thailand กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย http://facthai.wordpress.com/ http://twitter.com/jiew ● ปรึกษาปัญหากฏหมาย ละเมิด,สัญญา,อายัดทรัพย์ ยึดทรัพย์ ปัญหาติดต่อราชการ ฟรี ● พิมพ์รายงาน,ค้นหาข้อมูล, ● งานพิมพ์ Lay-Out,Art Work สำนักพิมพ์ดาวหาง www.sanamluang.bloggang.com สนใจติดต่อสอบถาม workingmailhome@hotmail.com