"เชิญชวนทุกท่านร่วมสร้างสรรค์กฎหมายเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน"

ฉันไม่ชอบกฎหมาย
Bookmark and Share
Blognone

วันอังคารที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2552

กิจกรรมและรายละเอียดเกี่ยวกับมูลนิธิสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ได้ที่เว็บไซต์ www.queensavang.org

วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11554 มติชนรายวัน


พิพิธภัณฑ์สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เปิดให้ประชาชนเข้าชมแล้ว


โดย พนิดา สงวนเสรีวานิช




สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
ณ ใจกลางมหานคร บริเวณด้านข้างตรงลานเชื่อมอาคารระหว่างของสยามเซ็นเตอร์กับสยามพารากอน ตรงไปจนสุดทางที่จะไปลานจอดรถ ทางขวามือเยื้องๆ กับโซนร้านอาหารของสยามพารากอน คือ ทางเข้าของ "วังสระปทุม"

ราว กับหลุดเข้าไปในอีกโลกที่สงบ เขียวชอุ่มด้วยต้นไม้น้อยใหญ่ ทางฝั่งซ้ายที่มองเห็นผ่านสีเขียวของใบไม้เป็นอาคารทรงฝรั่งสีเหลือง "พระตำหนักใหญ่" พระตำหนักที่ประทับของสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า กระทั่งเสด็จสวรรคต

คุณชวลี อมาตยกุล เลขาธิการและกรรมการมูลนิธิสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เล่าว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเปิดพิพิธภัณฑ์สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าอย่างเป็นทางการไปเมื่อปีที่ แล้วเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม แต่เนื่องจากพิพิธภัณฑ์อยู่ในวัง จึงต้องเตรียมความพร้อมเพื่อให้ทุกท่านได้ความรู้อย่างเต็มที่

"คน ส่วนใหญ่จะทราบว่าท่านเป็นพระอัยยิกาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แต่ไม่ทราบว่าท่านทรงทำอะไรให้กับประเทศชาติบ้าง นี่คือเหตุผลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงอยากให้เปิดเป็นพิพิธภัณฑ์เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วไปได้ทราบว่า ท่านทำอะไรให้แก่ประเทศชาติบ้าง"

พระตำหนักใหญ่ปัจจุบันได้รับการ อนุรักษ์และจัดทำเป็น "พิพิธภัณฑ์สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า" เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชมได้แล้ว ตั้งแต่วันที่ 19 ตุลาคม ถึง 19 ธันวาคม ทุกวัน ยกเว้นวันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 10.00-17.00 น.

ค่า เข้าชม ผู้ใหญ่ 150 บาท นักเรียน/นักศึกษา 50 บาท โดยผู้ประสงค์จะเข้าชมจะต้องนัดหมายล่วงหน้า ที่ 0-2251-3999 ต่อ 201-202, 02-252-9137 และจะต้องแต่งกายสุภาพเนื่องจากอยู่ในเขตพระราชฐานชั้นใน

การ จัดแสดงของพิพิธภัณฑ์สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้านั้น แบ่งการจัดแสดงเป็น 2 ส่วน คือ ที่ "หอนิทรรศการ" จัดแสดงเรื่อง สายธารประวัติสว่างวัฒน์พิพิธภัณฑสถาน ซึ่งประกอบไปด้วยพระราชประวัติสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า และนิทรรศการการบูรณะซ่อมแซมพระตำหนักใหญ่ วังสระปทุม

(บน) สมเด็จพระพันวัสสาฯกับพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ (ล่างซ้าย) พระตำหนักใหญ่กล่าวกันว่าทรงวางผังด้วยองค์เอง (ขวาล่าง) พระราชนัดดาทั้งสามพระองค์


ขณะที่ "พระตำหนักใหญ่" อันเป็นที่ประทับ ตั้งแต่ พ.ศ.2459 ตราบจนเสด็จสวรรคตใน พ.ศ.2498 นำเสนอภาพเพียงบางส่วนในพระชนม์ชีพของสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ซึ่งมีอยู่มากมายและเป็นความทรงจำอันล้ำค่าของทุกชีวิตภายในวังสระปทุม เพราะนับตั้งแต่การออกแบบตัวอาคาร กล่าวกันว่า ทรงคิดผังพระตำหนักด้วยพระองค์เอง ทรงใช้ไม้ขีดไฟบ้าง หางพลูบ้าง ทำเป็นผัง แล้วจึงทรงให้สถาปนิกออกแบบถวายตามพระราชประสงค์

พอก้าว เข้าไปภายในพระตำหนัก ก่อนจะเข้าชมรายละเอียดในแต่ละห้อง จะต้องฝากกระเป๋าสัมภาระ พร้อมกับรับชุดหูฟังเพื่อฟังคำบรรยาย คุณชวลีบอกว่า 2 เดือนของการเปิดให้เข้าชมพิพิธภัณฑ์สมเด็จพระพันวัสสาในปีนี้ ยังถือเป็นการทดลอง คำบรรยายในชุดหูฟังยังมีแค่ภาษาไทย แต่ในปีหน้าจะมีภาษาอังกฤษเพิ่มเข้ามาด้วย

สำหรับการจัดแสดงภายในพระตำหนักใหญ่ แบ่งเป็น 3 ช่วงเวลา คือ

ช่วง ที่ 1 เป็นช่วงที่พระตำหนักสร้างเสร็จแล้ว และสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนสงขลานครินทร์ (สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก) เสด็จฯกลับมาจากต่างประเทศมาประทับอยู่

ช่วงที่ 2 เป็นช่วงที่สมเด็จเจ้าฟ้าฯกรมขุนสงขลานครินทร์ ทรงเสกสมรสแล้ว และมีพระราชธิดาหนึ่งพระองค์ ทรงพาครอบครัวเสด็จกลับจากประเทศอังกฤษ และมาประทับอยู่ที่วังสระปทุมอีกวาระหนึ่ง

ช่วงที่ 3 เป็นช่วงเวลาที่สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนสงขลานครินทร์ เสด็จกลับจากทรงศึกษาวิชาการแพทย์ จากสหรัฐอเมริกาพร้อมครอบครัว มีพระราชโอรสเพิ่มขึ้นอีก 2 พระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลและพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาล ปัจจุบัน

(ซ้าย บน) "เฉลียงพระตำหนักใหญ่ชั้นบน" สถานที่ซึ่งสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนาง เจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเทพฯ เสด็จฯทรงเปิดเมื่อ 17 ธันวาคม 2551 (ขวาบน) ห้องพิธี คือห้องที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงจดทะเบียนสมรสกับสมเด็จพระนางเจ้า สิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ (ซ้ายล่าง) ห้องรับแขกที่ชั้นล่างพระตำหนักใหญ่ (ขวาล่าง) เจ๊กตู้


นอกจากนี้ได้ถ่ายทอดเรื่องราวของความรักความผูกพันที่สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงมีต่อพระราชนัดดาทั้ง 3 พระองค์

ตัวอย่าง เช่นที่ มุม "เจ๊กตู้" บริเวณห้องนิทรรศการ ใกล้กับเฉลียงพระตำหนักชั้นบน ซึ่งครั้งนั้นสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า โปรดให้เจ๊กหาบตู้-ภายในบรรจุของเล่นนานาชนิดและขายในราคาถูก เข้าไปขายในวังสระปทุมได้เป็นปกติ ให้พระราชนัดดาทั้ง 3 พระองค์ได้ทรงเลือกซื้อ

เล่ากันว่า เมื่อครั้งทรงพระเยาว์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ไม่ทรงรู้จักธนบัตรไทย เมื่อทอดพระเนตรเห็นในพระหัตถ์สมเด็จฯ ก็กราบทูลถาม สมเด็จฯ ก็ทรงตอบเป็นต้นว่า

"นี่ใบละบาท ไม่เคยเห็นหรือ เอ้าเอาไป...นี่ใบละ 5 บาท เอาไปซี่"

ทั้งสองพระองค์ทรงได้รับพระราชทานอยู่เป็นนิจ ตั้งแต่ธนบัตรราคาฉบับ 1 บาท 5 บาท 10 บาท 20 บาท

คราวหนึ่งทอดพระเนตรเห็นธนบัตรราคาฉบับละ 100 บาท ก็กราบทูลถามอีก สมเด็จฯ ตรัสว่า

"นี่ใบละ 100...มากไป อย่าเอาเลย"

มี อีกคราว สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทอดพระเนตรเห็นเข็มกลัดทำเป็นรูปห่วงโอลิมปิคคล้องกันไว้ 3 ห่วง ทรงโปรดมากเพราะแปลความหมายถึงพระองค์ที่ยังทรงมีห่วง 3 ห่วงคือพระราชนัดดาทั้งสาม จึงทรงซื้อจากเจ๊กตู้ และทรงกลัดติดพระองค์เสมอ เมื่อมีผู้กราบทูลขึ้นว่า ห่วงนั้นเป็นของเก๊ ก็ตรัสว่า "แกกลัดคนเขานึกว่าเก๊ ฉันกลัดคนเขาไม่นึกหรอก"

เรื่องเหล่านี้ชาววังสระปทุมจำไว้เล่ากันไม่รู้ลืม

พระตำหนักใหญ่แห่งนี้ยังเป็นสถานที่จดทะเบียนสมรสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

โดย เฉพาะบริเวณ "เฉลียงพระตำหนักใหญ่ชั้นบน" เป็นสถานที่ซึ่งสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ประกอบพระราชพิธี อันเป็นพระราชกรณียกิจสำคัญสุดท้ายแห่งพระชนม์ชีพ ทรงเป็นประธานในพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

อีกจุดหนึ่งที่ถือเป็นไฮไลต์ของการเข้าชมที่พระตำหนักใหญ่คือ ห้องนิทรรศการที่ชั้นล่าง ก่อนทางออก ห้องนี้จัดแสดงเอกสารสำคัญ

หนึ่ง ในนั้นคือ ตู้ที่หลายต่อหลายคนมายืนอ่านด้วยความซาบซึ้ง บางคนถึงกับแอบเช็ดน้ำตา ด้วยเอกสารภายในตู้นั้น เป็นสำเนาเอกสารลายพระหัตถ์สมเด็จพระบรมชนก ขณะยังประทับอยู่ที่สหรัฐอเมริกา ทรงมีถึงสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า กราบทูลว่า

ทรงพบสตรีที่มีคุณสมบัติที่เพียบพร้อมที่จะเป็นคู่ อภิเษก แม้จะเป็นสามัญชนก็ตาม โดยทรงยกเหตุผลและคุณงามความดีทั้ง 10 ประการของสตรีนางนั้นมาแสดง ซึ่งก็คือ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี นั่นเอง

หลังจากเดินเที่ยวชมสถานที่แต่ละจุดแล้ว รวมทั้งในส่วนของ "หอนิทรรศการ" (ถ้าเข้าจากประตูวังจะต้องเลี้ยวขวา) ที่พลาดไม่ได้คือ ในส่วนของร้านค้าให้บริการของที่ระลึก เช่น กระเป๋า เสื้อยืด โดยเฉพาะคอลเลคชั่นใหม่รับปีขาล ซึ่งเป็นภาพฝีพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีให้เลือกซื้อหากันแล้ว รวมทั้งมุมที่ให้บริการอาหารว่าง เปิดทุกวัน ยกเว้นวันอาทิตย์ เวลา 10.00-17.00 น.

มูลนิธิสมเด็จพระพันวัสสาฯยัง มีโครงการฝึกอบรมทำอาหาร-ขนมชาววัง และงานฝีมือ เช่น การประดิษฐ์ดอกไม้ งานพับผ้าเช็ดหน้าเป็นรูปสัตว์ และอื่นๆ อีกมากมาย รายได้ทั้งหมดสมทบทุนการดำเนินงานของพิพิธภัณฑ์สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกา เจ้า และกิจกรรมสาธารณประโยชน์ของมูลนิธิสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า

เข้าดูกิจกรรมและรายละเอียดเกี่ยวกับมูลนิธิสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ได้ที่เว็บไซต์ www.queensavang.org


หน้า 21

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
Thailand
ข่าวสาร ข้อมูล ทุกด้านต้องรับฟัง ไม่เชื่อสิ่งที่เห็น ฟังข่าวสารเพียงฝ่ายเดียว ต้องรู้เท่าทันในการรับรู้ข่าวสารจากทุกแหล่งข่าว FACT - Freedom Against Censorship Thailand กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย http://facthai.wordpress.com/ http://twitter.com/jiew ● ปรึกษาปัญหากฏหมาย ละเมิด,สัญญา,อายัดทรัพย์ ยึดทรัพย์ ปัญหาติดต่อราชการ ฟรี ● พิมพ์รายงาน,ค้นหาข้อมูล, ● งานพิมพ์ Lay-Out,Art Work สำนักพิมพ์ดาวหาง www.sanamluang.bloggang.com สนใจติดต่อสอบถาม workingmailhome@hotmail.com