"เชิญชวนทุกท่านร่วมสร้างสรรค์กฎหมายเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน"

ฉันไม่ชอบกฎหมาย
Bookmark and Share
Blognone

วันอาทิตย์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2552

รายงานพิเศษ/ 148 ปี "ถนนเจริญกรุง" เมื่อ"รถไฟฟ้าใต้ดิน"บุก!

รายงานพิเศษ/ 148 ปี “ถนนเจริญกรุง” เมื่อ”รถไฟฟ้าใต้ดิน”บุก!

ข่าววันที่ 11 ตุลาคม 2552 แหล่งข่าวจาก สยามรัฐ

 

รายงานพิเศษ/ ปิยะบุตร อนุกูล

 

 

                                              148 ปี ถนนเจริญกรุง

                        เมื่อรถไฟฟ้าใต้ดินบุก!

 

 

    ทุกประเทศ มักมีปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนากับการอนุรักษ์ที่ไม่ลงรอยกันเสมอ

    ประโยคข้างต้นคือส่วนหนึ่งในคำปาฐกถาของมร.จอห์น ปอล ชูทติ ผู้ช่วยทูตฝ่ายวัฒนธรรมประจำสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ในงานเสวนาวิชาการของสมาคมอิโคโมสไทย ภายใต้หัวข้อ  มรดกเจริญกรุง:การสำรวจอาคารที่มีคุณค่าบริเวณถนนเจริญกรุงตอนบน ณ ห้องประชุมหอศิลป์กรุงไทย ธนาคารกรุงไทย สาขาเยาวราช

    สถาน ทูตอเมริกาฯ ได้ให้ทุนสนับสนุนวิจัยโครงการสำรวจและจัดทำฐานข้อมูลอาคารที่มีคุณค่าทาง สถาปัตยกรรมและประวัติศาสตร์บนถนนเจริญกรุงตอนบนในพื้นที่โครงการก่อสร้าง รถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงิน ภายใต้กองทุนเอกอัครราชทูตเพื่อการอนุรักษ์วัฒนธรรม พ.ศ.2550  ให้แก่ผศ.ดร.ยงธนิศร์ พิมลเสถียร อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และรองประธานอิโคโมสไทย ในฐานะผู้อำนวยการโครงการ

    ทีมข่าวกทม.-ชุมชนเมือง สยามรัฐ ได้สรุปใจความสำคัญผลการศึกษาวิจัยมานำเสนอเพื่อเป็นอีกแง่มุมหนึ่ง ที่ไม่ค่อยมีใครรู้... ใครสนใจ?

           ###################

 

    กรณีการเตรียมก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงิน (หัวลำโพง-บางแค) ที่ผ่านถนนเจริญกรุงตั้งแต่หัวลำโพง-ปากคลองตลาด เป็น อีกครั้งที่การพัฒนาเมือง (โดยเฉพาะด้านคมนาคม-การก่อสร้างระบบขนส่งมวลชน) ซึ่งสร้างความตื่นตัวในหมู่ประชาชน-ผู้อยู่อาศัยในพื้นที่เส้นทางก่อสร้าง และยังรวมไปถึงนักวิชาการหลายแขนงที่ต่างตั้งคำถามด้วยความเป็นห่วง

    ด้วย ความที่เป็นถนนเก่าแก่ เป็นถนนสายแรกๆ ที่พัฒนามาเป็นลำดับตั้งแต่แรกสร้างในสมัยล้นเกล้ารัชกาลที่ 4 (พ.ศ.2404) ให้เป็นย่านธุรกิจการค้า (ซึ่งยังสำคัญมาถึงทุกวันนี้) โดยเฉพาะช่วงเปลี่ยนแปลงระบบคมนาคมหลักในกรุงรัตนโกสินทร์จากทางน้ำสู่ทางบก พร้อมกับการเกิดขึ้นของ ตึกแถวสองฟากถนนเป็นครั้งแรกของประเทศไทย

    ปัจจุบัน ถนนเจริญกรุงใกล้จะมีอายุครบ 150 ปี ซึ่งนอกจากจะเป็นย่านธุรกิจที่สำคัญแล้ว ยังเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์พัฒนาเมือง จากหลักฐานความเจริญรุ่งเรืองตั้งแต่อดีตคือ อาคารตึกแถว อาคารพาณิชย์ ที่สวยงามทางสถาปัตยกรรมและเป็นมรดกทางวัฒนธรรม

    แม้ว่าโครงการก่อสร้างส่วนใหญ่จะอยู่  ใต้ดิน แต่ บางส่วนต้องอยู่เหนือพื้นดิน เช่น ทางขึ้น-ลงสถานี ปล่องระบายอากาศ ฯลฯ แน่นอนว่าจะต้องรื้อถอนอาคารและสิ่งกีดขวาง หนึ่งในนั้นคืออาคารเก่าแก่มรดกของคนกทม.-มรดกของแผ่นดิน

          ###################

 

    คณะผู้วิจัยได้สรุปคุณค่าถนนเจริญกรุงในฐานะมรดกวัฒนธรรมดังนี้
1.เป็นถนนพาณิชยกรรมแห่งแรก  ของกทม. (สร้างพร้อมตึกแถว)
2.ความเกี่ยวพันกับพระมหากษัตริย์ อันเป็นผลพวงจากพระราโชบายพัฒนาประเทศของ ร.4 และ ร.5 เพื่อปกป้องประเทศให้พ้นจากลัทธิจักรวรรดินิยม
3.เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างเมืองแบบสมัยใหม่ (จากน้ำสู่บก)
    4.เป็นหลักฐานของความสัมพันธ์ระหว่างตะวันออกกับตะวันตกที่ปรับตัวให้อยู่ร่วมกันได้  
5.เป็นศูนย์รวมของสถาปัตยกรรมหลายยุคหลายสมัยซึ่งยังคงหลงเหลืออยู่จำนวนมาก และ
6.ความต่อเนื่องของกิจกรรมเศรษฐกิจที่ยังคงดำเนินอยู่อย่างหนาแน่น ซึ่งทุกข้อล้วนเป็นไปตามกรอบแนวทางเพื่อการอนุรักษ์แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม ขององค์กรยูเนสโก

    นอกจากนี้ คณะผู้วิจัยยังได้ระบุจำนวนอาคารควรค่าแก่การอนุรักษ์ซึ่งได้สำรวจไว้ถึง 480 หน่วย (ตึกแถว 1 คูหา นับเป็น 1 หน่วย) โดยแบ่งเป็น 3 ยุค ได้แก่

    1.ยุคแรก (พ.ศ.2404-2460) สร้างตั้งแต่ร.4ถึงต้นร.6 เป็นตึกแถว 2 ชั้น ใช้กำแพงหนาเป็นโครงสร้างเพื่อรับน้ำหนัก ประดับลวดลายปูนปั้นซึ่งเป็นอิทธิพลแบบเรอเนอซองส์-นีโอคลาสสิกและปอลลา เดียน มีทั้งสิ้น 341 หน่วย (71%)

    2.ยุคที่ 2 (พ.ศ.2450-2480) รูปแบบยังต่อเนื่องกับยุคแรก แต่ด้วยวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีซึ่งก่อสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กเป็นหลัก ทำให้โครงสร้างเบาลง-อาคารสูงขึ้น  (จำนวนชั้นมากขึ้น) เอกลักษณ์คือระเบียงประดับ มีทั้งสิ้น 132 หน่วย

    3.ยุคที่ 3 ช่วงหลังสงคราม (พ.ศ.2470-2518) รูปแบบส่วนใหญ่เป็นสถาปัตยกรรมโมเดิร์น เรียบง่ายไม่เน้นตกแต่ง มี 7 อาคาร (อาทิ โรงละครเฉลิมกรุง)

    อนึ่ง ภาพรวมอาคารส่วนใหญ่ค่อนข้างทรุดโทรม ยังไม่มีแนวทางวิธีปรับปรุงที่ถูกต้องเหมาะสมจากหน่วยงานใด ทั้งยังถูกบดบังด้วยป้ายโฆษณา-สายไฟ การต่อเติมที่ผิดรูปแบบเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบ ซึ่งล้วนแต่ทำให้คุณค่าความงดงามทางสถาปัตยกรรมลดลง

                อย่างไรก็ตาม จากอาคารทรงคุณค่า 480 หน่วย มีเพียง 3 อาคารเท่านั้นที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานคือ อาคาร SAB (ปัจจุบันเป็นสำนักงานหนังสือพิมพ์ ซินเสียนเยอะเป้า ), อาคาร SEC (ปัจจุบันเป็นธนาคารไทยพาณิชย์สาขาเฉลิมนคร) และศาลเจ้ากวางตุ้ง

    นอกจากนี้ ปัจจุบันกรมศิลปากร กำลังอยู่ระหว่างขั้นตอนประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานอีก 2 แห่งคือ โรงละครเฉลิมกรุง และวัดมังกรกมลาวาส (วัดเล่งเน่ยยี่)

    แต่ถึงกระนั้น ตำแหน่งสถานีรถไฟใต้ดินกลับซ้อนทับอาคารทรงคุณค่าได้แก่ กลุ่มตึกแถวร้านเซ่งชง (ซึ่งเคยเป็นร้านตัดรองพระบาทร.6), กลุ่มตึกแถวหน้าวัดมังกรฯ (ที่จะประกาศเป็นโบราณสถาน) และกลุ่มตึกแถวเชิงสะพานมอญ (ซึ่งสะพานมอญขึ้นทะเบียนโบราณสถานแล้ว)

        ######################

 

    ผู้วิจัยได้สรุปข้อเสนอแนะจากผลการศึกษาไว้อย่างน่าสนใจ 3 ประการสำคัญดังนี้

    1.ประชาสัมพันธ์เพื่อฟื้นฟูถนนเจริญกรุงครบรอบ 150 ปี ในปี 2554 ซึ่งตรงกับปีมหามงคลครบรอบพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 84 พรรษา จึงควรจัดงานเฉลิมฉลองถนนเจริญกรุงซึ่งมีความเกี่ยวโยงกับพระอัจฉริยภาพของ พระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี  

                2.กรณีโครงการรถไฟฟ้าใต้ดิน ควรหารือผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมโยธาและจราจรโดยเฉพาะ เพื่อศึกษาแรงสั่นสะเทือนทางปฐพีวิทยา ซึ่งอาจส่งผลต่อโครงสร้างและระบบฐานรากอาคาร (ทั้งเก่า-ใหม่) ขณะที่โครงสร้างเหนือพื้นดินควรเลี่ยงสร้างทับซ้อนอาคารเก่าแก่ เพื่อสร้างความผสมผสานระบบขนส่งมวลชนสมัยใหม่โดยเคารพองค์ประกอบวัฒนธรรมของ เมือง

                3.ภาครัฐควรมีมาตรการส่งเสริมการอนุรักษ์ในภาคประชาชน อาทิ ตั้งกองทุนหรือระดมทุนช่วยเหลือค่าซ่อมบำรุงอาคารเป็นการลดภาระและสร้างแรง จูงใจ โดยจัดหาวัสดุและช่างฝีมือจากองค์กรวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง พร้อมสร้างเสริมกิจกรรมด้านเศรษฐกิจในเวลาเดียวกัน

    ทั้ง นี้ทั้งนั้น ที่ผ่านมาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแทบจะไม่สนใจให้ความสำคัญกับประเด็นต่างๆ ทำให้ดูเหมือนถนนประวัติศาสตร์สายนี้ถูกทอดทิ้งให้เสื่อมสภาพตามกาลเวลา เพื่อใส่สิ่งใหม่ทดแทน

    ตัวอย่าง ที่เห็นได้ชัดคือ โครงการรถไฟใต้ดินที่ถึงขณะนี้ชาวบ้าน-พ่อค้าแม่ขายที่อาศัยอาคารรอบถนน เจริญกรุง ยังมีไม่ถึง 10% ที่รู้จักโครงการอย่างละเอียดถี่ถ้วนว่าจะมีเกิดอะไรขึ้นบ้าง          

          (อนิจจา...)

 

 

 

 

 
  รูปประกอบข่าว
http://www.siamrath.co.th/uifont/NewsDetail.aspx?cid=62&nid=48179

--
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
blog
http://www.thaifreedompress.blogspot.com/
http://sunblog1951.blogspot.com/ sunday
http://blogpwd.blogspot.com/ pwd9
http://ktblog1951.blogspot.com/ pwday
http://newsblog9.blogspot.com/ news
http://bloghealth99.blogspot.com/ health
http://labour9.blogspot.com/ labour
http://www.ksmecare.com/docSeminar/520902031848987.pdf
http://www-01.ibm.com/software/th/events/lotusliveevent/
http://www.mict4u.net/thai/
http://www.chula.ac.th/visitors/thai/calendar.htm
http://www.agkmstou.com/2008/index.php
http://www.baanjomyut.com/library/lotus/index.html
http://www.asianbarometer.org/newenglish/introduction/default.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
Thailand
ข่าวสาร ข้อมูล ทุกด้านต้องรับฟัง ไม่เชื่อสิ่งที่เห็น ฟังข่าวสารเพียงฝ่ายเดียว ต้องรู้เท่าทันในการรับรู้ข่าวสารจากทุกแหล่งข่าว FACT - Freedom Against Censorship Thailand กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย http://facthai.wordpress.com/ http://twitter.com/jiew ● ปรึกษาปัญหากฏหมาย ละเมิด,สัญญา,อายัดทรัพย์ ยึดทรัพย์ ปัญหาติดต่อราชการ ฟรี ● พิมพ์รายงาน,ค้นหาข้อมูล, ● งานพิมพ์ Lay-Out,Art Work สำนักพิมพ์ดาวหาง www.sanamluang.bloggang.com สนใจติดต่อสอบถาม workingmailhome@hotmail.com